การพัฒนารูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของ โรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ยุทธศักดิ์ อินทฤๅกูร สวัสดิ์วงศ์ชัย
พรเทพ เสถียรนพเก้า
วัลนิกา ฉลากบาง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา และ 2) ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 พัฒนารูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน กรณีศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาดีเด่น จำนวน 2 แห่ง และระยะที่ 2 ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยม โดยสอบถามความคิดเห็นกับผู้บริหารสถานศึกษา ปีการศึกษา 2565จำนวน 273 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 1.00 ค่าอำนาจจำแนก 0.24-0.60 และความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปผลการวิจัยพบว่า
       1. รูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษา 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย 1.1) การบริหารจัดการในทีม 1.2) ด้านงบประมาณ 1.3) คุณลักษณะของผู้นำทีม และ 1.4) ความไว้วางใจในการทำงาน 2) การทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย 2.1) ด้านการติดต่อสื่อสาร 2.2) ด้านวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนเห็นพ้องต้องกัน 2.3) ด้านการยอมรับนับถือซึ่งกันและกันของทีม 2.4) และด้านการมีส่วนร่วมของทีม 3) ขั้นตอนการทำงานเป็นทีม ประกอบด้วย 3.1) การวางแผน 3.2) การปฏิบัติตามแผน 3.3) การตรวจสอบ และ 3.4) การปรับปรุง แก้ไข และ 4) ประสิทธิผลของโรงเรียน ประกอบด้วย 4.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4.2) ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน 4.3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน 4.4) การพัฒนาบุคลากร และ 4.5) ด้านความเชื่อมั่นของผู้ปกครองนักเรียน
        2. รูปแบบการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก ศรีวรรณา. (2561). การบริหารแบบมีส่วนร่วมที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

กรวิภา งามวุฒิวงศ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมภายในสำนักอำนวยการสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

จตุรภัทร ประทุม. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: คณะศึกษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชนมณี ศิลานุกิจ. (2563). ประสิทธิผลการบริหารจัดการบุคลากรของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 6 (3), 35-54.

ณัฏฐริดา บุ้งทอง. (2561). สมรรถนะการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตคลองสาน สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารบริหารการศึกษา มศว, 15 (28), 204 – 214.

ธีรนุช จันทร์กองแก้ว. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานแห่งเรียนรู้วัฒนธรรมโรงเรียนสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กระบวนการคุณภาพ PDCA. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวชิาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัฐนันท์ กุณะ. (2564). การทำงานเป็นทีมของผู้บริหารต่อการรับรู้ของครู ในกลุ่มเครือข่าศรีพุทธ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. Journal of Roi Kaensarn Academic, 6 (2), 31 - 44.

นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์กรบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร และสังคมศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ลำเทียน เผ้าอาจ. (2559). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการในโรงเรียนขยายโอกาสอำเภอเมืองตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา: คณะศึกษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร และสังคมศาสตร บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพลิน สุมังคละ. (2559). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนการสอนสำหรับครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา• สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ไลวรรณ ศรีมันตะสิริภัทร. (2560). พฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริหารและครูที่ส่งผลต่อการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรำไพพรรณี.

วิชนีย์ ทศศะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วีรศักดิ์ มุงคุณ. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารคุณภาพของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). เอกสารการนิเทศการใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนและชุมชน. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2559). เกณฑรางวัลคุณภาพแหงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBECQA) ป พ.ศ. 2559-2560. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาพื้นที่ชายแดน (พ.ศ. 2560-. 2564). กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สุภาพร โทบุตร. (2561). ปัจจัยการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐในจังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อมรรัตน์ สิงโต. (2560). การพัฒนาตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

อังสนา เข็มใคร. (2560). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยทางการบริหารของผู้บริหารสตรีที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

Beach, D. (2008) Personnel Management of People at Work. New York: McMillan

Cunningham and Cunningham, W. and Cordeiro, A.P. (2009). 28 participation management : Concept theory and implementation. Atlarto G : Georgia State University.

Gorton, R.D. (2010). School administration and supervisor. Leadership challenges and opportunities. (2nd ed.). Dubuque: Win C. Brown.

Hall, R.H. (1991). Organizations structures processes and outcomes. Prentice – Hall :International, Inc.

Hoy, W.K. and Miskel, C.G (2001) Educational administration : Theory - research – practice. (6th ed.). New York: McGraw – Hill.

Hoy, W.K. and Miskel, C.G (2005). Education administration: Theory research and practice. New York: McGraw-Hill.

Jo and Joseph, B. (2008). Educational Administration: A problem-based approach. Boston: Allyn and Bacon.

Juran, J.M. (1989). Juran's quality control handbook. (4th ed.). New York: McGraw-Hill.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Melnyk, S.A. and Denzler, D.A. (1996). Operations management: A value-driven approach. Boston: McGraw-Hall.

Robbins, S.P. (1997). Organization theory: structure design and applications. (3rd ed.). Englewood Cliff: Prentice-Hall.

Robbins, S.P. (2001). Organizational behavior. (9th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.

Scheerens, J., and Bosker, R.J. (1997). The foundations of educational effectiveness. Oxford: UK Pergamon.

Williams, R.S. (1998). Performance Management : Perspectives on Employee Performance. London: International Thomson Business Press.