กลวิธีการบรรเลงและแนวคิดการประพันธ์ทางเดี่ยวซอด้วงเพลงพญาโศก สามชั้นทางครูหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน)

Main Article Content

วราภรณ์ เชิดชู

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการบรรเลงและแนวคิดการประพันธ์ทางเดี่ยวซอด้วงเพลงพญาโศก สามชั้น ทางครูหลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยะชีวิน) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์แบบเลือกประเด็น เพื่ออธิบายถึงการออกแบบกลวิธีการบรรเลงและแนวคิดการประพันธ์ทางเดี่ยวซอด้วงที่อยู่บนโครงสร้างทำนองหลัก ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลวิธีที่ใช้ตกแต่งทำนอง จำนวน 16 กลวิธี คือ สะบัดนิ้ว กระทบเสียง พรมปิด พรมเปิด พรมนิ้วจาก นิ้วควงเสียง เอื้อนเสียง ตวัดนิ้ว สะอึกคันชัก สะบัดคันชัก รูดนิ้ว การขยี้ การสีเก็บ การสีให้เสียงเบาลงหรือดังขึ้น สีแผ่ว และการย้อยจังหวะ และ 2) แนวคิดการประพันธ์ทางเดี่ยวซอด้วง จำนวน 3 แนวคิด คือ 1) การประพันธ์ทางเดี่ยวที่สัมพันธ์กับทำนองหลัก 2) กลอนมาตรฐานของซอด้วง และ 3) การประพันธ์ทางเดี่ยวแบบอิสระโดยยังคงรักษาเสียงลูกตกหลักของทำนอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขำคม พรประสิทธิ์. (2566). การดีดจะเข้ขั้นพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น. ณ ปากน้ำ. (2532). ความเข้าใจในศิลปะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เมืองโบราณ.

พิชิต ชัยเสรี. (2566). การประพันธ์เพลงไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต ชัยเสรี. (2566). สังคีตลักษณ์วิเคราห์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พูนพิศ อมาตยกุล และคณะ. (2532). นามานุกรมศิลปินเพลงไทยในรอบ 200 ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี ตราโมทและวิเชียร กุลตัณฑ์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยเขษม.

วราภรณ์ เชิดชู. (2565). ทางและอัตลักษณ์ของซออู้ในเพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดง. วารสารอารยธรรมลุ่มน้ำโขง สาละวิน. 13(1), 193-220.

จีรพล เพชรสม, การสื่อสารส่วนบุคคล, 24 เมษายน 2565.

เชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ, การสื่อสารส่วนบุคคล, 24 กุมภาพันธ์ 2565.

เชวงศักดิ์ โพธิสมบัติ, การสื่อสารส่วนบุคคล, 24 มีนาคม 2566.

ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน, การสื่อสารส่วนบุคคล, 20 ธันวาคม 2560.