ปัจจัยทางจิตและสถานการณ์ทางสังคมไร้เงินสดที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยสหสัมพันธ์เชิงเปรียบเทียบนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณของครู สังกัดกรุงเทพมหานคร ที่มีลักษณะทางชีวสังคมต่างกัน (2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มตัวแปรสถานการณ์ทางสังคม กลุ่มตัวแปรจิตลักษณะเดิม และกลุ่มตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณในแต่ละด้านของครูสังกัดกรุงเทพมหานคร (3) เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายของกลุ่มตัวแปรสถานการณ์ทางสังคม กลุ่มตัวแปรจิตลักษณะเดิม และกลุ่มตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณทั้งในด้านรวมและด้านย่อย รวมถึงตัวแปรเชิงเหตุที่สำคัญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ ครูสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 406 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) และเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามเป็นมาตรประเมินค่า 6 ระดับ จำนวน 8 ตอน มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าอยู่ที่ระหว่าง 0.703 ถึง 0.850
ผลการวิจัย พบว่า (1) ครูสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีกลุ่มรายได้ต่างกันจะมีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณด้านรวมแปรปรวนไปตามความแตกต่างของรายได้ (2) ครูสังกัดกรุงเทพมหานครที่มีภูมิคุ้มกันทางจิตต่ำ และได้รับอิทธิพลจากกลุ่มอ้างอิงสูงจะมีพฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณด้านรวมแตกต่างจากครูที่ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มอ้างอิงต่ำ (3) พบปฏิสัมพันธ์พฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณด้านรวม โดยพบว่า ตัวแปรที่เข้าทำนายที่สำคัญได้แก่ สิ่งกระตุ้นทางการตลาดดิจิทัล (β = .22) การมีภูมิคุ้มกันทางจิต (β = .34) ค่านิยมด้านวัตถุ (β = .22) และอิทธิพลจากกลุ่มอ้างอิง (β = .18) และสามารถทำนายพฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณได้ร้อยละ 42.3 (4) พบปฏิสัมพันธ์พฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณด้านความมีเหตุผล โดยพบว่า ตัวแปรที่เข้าทำนายที่สำคัญได้แก่ สิ่งกระตุ้นทางการตลาด (β = .20) และการมีภูมิคุ้มกันทางจิต (β = .14) สามารถทำนายพฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณได้ร้อยละ 7.3 (5) พบปฏิสัมพันธ์พฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณด้านความคุ้มค่า พบว่า ตัวแปรที่เข้าทำนายที่สำคัญได้แก่ การรู้เท่าทันเทคโนโลยีทางการเงิน (β = .19) อิทธิพลจากกลุ่มอ้างอิง (β = .29) เจตคติต่อการบริโภคสินค้าออนไลน์ (β = .11) การมีภูมิคุ้มกันทางจิต (β = .46) ค่านิยมด้านวัตถุ (β = .35) และสิ่งกระตุ้นทางการตลาด (β = .19) สามารถทำนายพฤติกรรมการบริโภคสินค้าออนไลน์อย่างมีวิจารณญาณร้อยละ 64.3 (R2 = 0.64)
Article Details
References
กชกร บุญยพิทักษ์สกุล. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างรู้เท่าทันของนักศึกษาปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
เกตุวดี สมบูรณ์ทวี. (2561). อิทธิพลด้านค่านิยมส่งผลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของกลุ่ม GEN Y ในเขตพญาไท. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ). 11 (2), 1500-1514.
จิระพงษ์ วรรณสุทธิ์. (2560). การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่าน Facebook Live. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต. คณะบริหารศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
เจริญรัตน์ วงษา. (2555). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคนิยมของข้าราชการครูจังหวัดพิษณุโลก. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริการการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยนเรศวร
ดุจเดือน พันธุมนาวิน. (2550). รูปแบบทฤษฎีปฎิสัมพันธ์นิยม (Interactionism model) และแนวทางการตั้งสมมติฐาน ในการวิจัยสาขาจิตพฤติกรรมศาสตร์ในประเทศไทย. วารสารพัฒนาสังคม. 9 (1), 85-117.
ทรรศนันท์ ชินศิริพันธุ์. (2555). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านความพอประมาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสถานศึกษาพอเพียงแบบอย่าง. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ทัศไนย สุนทรวิภาต. (2559). การใช้สื่อและพฤติกรรมการใช้จ่ายตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของนักศึกษามหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร. BU ACADEMIC REVIEW. 15 (1), 137-155.
ทวียศ ศรีเกตุ. (2557). ผู้บริโภคกับปัญหาการซื้อสินค้าผ่านเครือข่ายออนไลน์. บทความใช้เพื่อการนำออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงรัฐสภา รายการเจตนารมณ์กฎหมาม : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. 1-16
ธนกร ลิ้มศรัณย์. (2561). การสื่อสารทางการตลาดดิจิทัลสู่การใช้บริการแอปพลิเคชันรถยนต์รับจ้างในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ. 7 (1), 90-101.
ธันยวนันฐ์ เลียนอย่าง. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการจัดการทางการเงินและความสมดุลในชีวิตการเรียนและการทำงานของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สถาบันระดับอุดมศึกษาเอกชน. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 13 (2), 264-279.
นนทิยา เนาว์สุวรรณ และศุภฤกษ์ โพธิไพรัตนา. (2565). อิทธิพลของปัจจัยการส่งเสริมการขายออนไลน์ตามแบบจำลองการยอมรับเทคโนโลยี และแบบแผนพฤติกรรมที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าประเภทแฟชั่นทางเว็บไซต์ลาซาด้า. วารสารการสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. 10 (1), 293-324.
พัชรี สารวิโรจน์. (2553). พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินของนักศึกษากองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พนม พงษ์ไพบูลย์. (2540). การศึกษาปัจจัยที่ 5 ของชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.
รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา2564. (2564). โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร.
ลัคนา แก้วเรือง. (2562). ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพด้วยปัญญาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
วริศรา สอนจิตร. (2559). ความตั้งใจซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟน. วารสารชุมชนวิจัย. 10 (1), 45-52.
วัชรี โทสาลี. (2564). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค ที่มีต่อการให้บริการสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านช่องทางออนไลน์เดลิเวอรี่. สารนิพนธ์หลักสูตรปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิภาวัส อิสราพานิช และสราวุธ อนันตชาติ. (2560). อิทธิพลของกลุ่มอ้างอิงต่อพฤติกรรมการบริโภคเสื้อผ้าแฟชั่นของวัยเด็กตอนปลาย. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา. 10 (2), 85-100
สรา ชื่นโชคสันต์ และคณะ. (2562). 8 ข้อเท็จจริง ปัญหาการเงินของครัวเรือนไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา : https://www.bot.or.th/th/research-and-publications/ articles-and-publications/articles/Article_30Oct2019.html
อรุโณทัย พยัคฆพงษ์. (2560). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการหรือผู้จัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) กลุ่มส่งออกสินค้าประเภทแฟชั่นในประเทศไทย. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Krejcie & Morgan 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610