การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เมืองเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ณัฐฌา พลเยี่ยม
นันทสารี สุขโต

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลกับความคาดหวังที่มีต่อคุณลักษณะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 2) ศึกษาความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลกับความพึงพอใจที่มีต่อคุณลักษณะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของความคาดหวังกับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อคุณลักษณะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 6 คุณลักษณะ ได้แก่ ทักษะที่นักท่องเที่ยวได้รับ ประสบการณ์ ทรัพยากรการท่องเที่ยว วัฒนธรรมประจำวัน มีส่วนร่วมกับชุมชนในการทำกิจกรรม และเอกลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีพฤติกรรมการท่องเที่ยวในลักษณะของนักท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และเคยเดินทางมาท่องเที่ยวตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรีแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้เทคนิคการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก (convenience sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน
          ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ต่างกัน มีความคาดหวังต่อคุณลักษณะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.05) 2) กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ และอาชีพที่ต่างกัน มีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value = 0.05) และ 3) นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีความพึงพอใจสูงกว่าความคาดหวังในทุกกลุ่มคุณลักษณะ โดยความคาดหวังของนักท่องเที่ยวโดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565, 18 มีนาคม). แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2561-2565.

ชิดชนก อนันตมงคลกุล และกัญญาพัชร พัฒนาโภคินสกุล. (2562). พฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของนักท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จังหวัดภูเก็ต. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 15 (2), 1-20.

จิราพร คงรอด. (2563). ความต้องการของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในพื้นที่ชุมชนลุ่มน้ำคลองป่าพะยอม - คลองท่าแนะ จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2 (33), 100-116.

จักรวาล วงศ์มณี และ รักษ์พงศ์ วงศาโรจน์. (2564). คุณลักษณะการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่นักท่องเที่ยวคาดหวัง ในแหล่งจุดหมายปลายทางเชิงสร้างสรรค์ในประเทศไทย. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 9 (6), 2665-2678.

ทิพย์วรรณ จุลิรัชนีกร. (2565). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 16 (2), 15-31.

แพรดาว ฟูพาณิชย์พฤกษ์. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวตามแผนการท่องเที่ยวขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวาระการเมืองและสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 1 (2), 82-109.

ยุพิน พิพัฒน์พวงทอง (2564). การฟื้นฟูการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ด้วยการอนุรักษ์และกิจกรรมการชงชาสมุนไพรรางแดงในชุมชนเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารกาสะลองคำ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย. 1 (15), 23-39.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York : John Wiley and Sons Inc.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis: Global edition. In: Pearson Higher Education Upper Saddle River, NJ.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2009). Marketing management. London: Pearson Education.

Landry, C. (2000). The creative city—a toolkit for urban innovators. London, Earthscan.

Richards, G. (2011). Creativity and Tourism : The State of the Art. Annals of Tourism Research. 38 (4), 1225-1253.