คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ภรณ์แพร ตุ้มทอง
เกวลิน ศีลพิพัฒน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตและเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิต จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุจังหวัดนนทบุรี จำนวน 400 คน เลือกตัวอย่างแบบ การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-Test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
          ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของผู้สูงอายุจังหวัดนนทบุรีมีคุณภาพชีวิตทั้ง 6 ด้าน อยู่ในระดับสูง โดยด้านลักษณะทางอารมณ์มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านความสามารถในการตัดสินใจด้วยตนเอง ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านสภาพร่างกายที่ดี ด้านการรวมกลุ่มทางสังคม และด้านสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ตามลำดับ สำหรับการทดสอบสมมติฐาน 1) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศและสถานภาพแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุและระดับการศึกษาแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกัน 2) จำแนกตามปัจจัยการดำเนินชีวิต พบว่า ปัจจัยการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุ ด้านแหล่งรายได้ โรคประจำตัว และการเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มหรือชมรมแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยการดำเนินชีวิตของผู้สูงอายุด้านลักษณะครอบครัว การมีผู้ดูแล การออม และหนี้สิน แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร เลิศลาภ. (2561). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครสกลนคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ณรงค์ คุณสุข. (2559). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลแสนตู้ง อำเภอเขาสมิง. วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ. (2531). การวัดทัศนคติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล

นัสมล บุตรวิเศษ และอุปริฏฐา อินทรสาด. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา.

นิธิภัทร ชิตานนท์. (2563). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุวิทย์ งอกศรี. (2560). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเตา อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ปลื้มใจ ไพจิตร. (2558). คุณภาพในการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการด้านบริหารธุรกิจการจัดการ เศรษฐศาสตร์และนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 2 (2), 157-179.

อรนิษฐ์ แสงทองสุข. (2562). การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในประเทศไทย กรณีศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร ปทุมธานี และนนทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Schalock, L. R. (2004). The concept of quality of life: what we know and do not know. Journal of Intellectual Disability Research 48. 3, 203-390.