ภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานวิชาชีพของครูที่มีความหลากหลายทางเพศ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานวิชาชีพที่เป็นอยู่จริงและที่คาดหวังของครูที่มีความหลากหลายทางเพศ 2) เพื่อเปรียบเทียบภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานวิชาชีพ 3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานวิชาชีพของครูที่มีความหลากหลายทางเพศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ คือผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 165 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพคือผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินความต้องการจำเป็น การทดสอบค่า t การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการสังเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานวิชาชีพสภาพที่เป็นอยู่จริงมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 ส่วนสภาพที่คาดหวังมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 2) การเปรียบเทียบภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานวิชาชีพจำแนกตามเพศ สถานภาพ เจเนอเรชั่น ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงานแตกต่างกันอย่างมีไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนาภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานวิชาชีพมี 6 แนวทางในการพัฒนาตนเองทั้งด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติ บุคลิกภาพ และการสื่อสารที่เหมาะสม เพื่อสร้างเสริมภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ให้เป็นที่ศรัทธาและยอมรับในบริบทวิชาชีพการศึกษา
Article Details
References
วิจิตร ศรีสอ้าน. (2535). การพัฒนาวิชาชีพศึกษาศาสตร์และบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
คณพศ ศรีเสน และ จิรวัฒน์ วรุณโรจน .(2564). ความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. Journal of Graduate MCU KhonKaen Campus. 8 (3), 236-247.
ยนต์ ชุ่มจิต. (2558). ความเป็นครู. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
สุขวสา ยอดกมล. (2551). เกี่ยวกับสิ่งที่ครูควรรู้. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาการ
มัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed). New York: Harper Collins.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement. 30 (3), 607-610.
Gray, E., Harris, A., & Jones, T. (2016). Australian LGBTQ teachers, exclusionary spaces, and points of interruption. Sexualities. 19 (3), 286–303.
Pearce, J., & Cumming-Potvin, W. (2017). English Classrooms and Curricular Justice for the
Recognition of LGBT Individuals: What Can Teachers Do?. Australian Journal of Teacher http://dx.doi.org/10.14221/ajte.2017v42n9.5