การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลก และภัยธรรมชาติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ปรากฏการณ์ของโลกและภัยธรรมชาติ และศึกษาผลของการส่งเสริมสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายมาจากการเลือกแบบเจาะจงเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแห่งหนึ่งในอำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสมเท่ากับ 4.59 แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ แบบสังเกตสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ และแบบทดสอบสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ใช้คะแนนค่าเฉลี่ยและร้อยละ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า แนวการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการระบุภาระงาน 2) ขั้นการสำรวจและรวบรวมข้อมูล 3) ขั้นการสร้างข้อโต้แย้งชั่วคราว 4) ขั้นกิจกรรมการโต้แย้ง 5) ขั้นการเขียนรายงานการโต้แย้ง 6) ขั้นการตรวจสอบโดยเพื่อน และ 7) ขั้นการปรับปรุงรายงาน สำหรับผลการจัดการเรียนรู้ พบว่า ระหว่างการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนมีพัฒนาการในสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ สอดคล้องกับผลการทดสอบสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ พบว่าผู้เรียนส่วนใหญ่มีระดับสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือในระดับสูง ดังนั้นผู้เรียนควรได้รับการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีการพัฒนาสมรรถนะการแก้ปัญหาแบบร่วมมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
OECD. (2013). PISA 2015 Draft Collaborative Problem Solving Framework. Paris: OECD.
Sampson, V. & Schlegh, S. (2013). Scientific argumentation in biology: 30 classroom activities. Arlington: National Science Teachers Association.
Sampson, V. &Grooms,J. Walker,J.P. (2011). Argument-driven inquiry as a way to help student learn how to participate in scientific argumentation and craf Written Argument: An Exploratory Study. Science Education. 95 (2), 217-257.