รูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองเพื่อพัฒนาพฤติกรรมของผู้นำท้องถิ่น จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ปัญญา คล้ายเดช
สมปอง สุวรรณภูมา
ชุมพล เพ็งศิริ
พระสมพร สมจิตฺโต (อ่อนไธสง)
สุพิชญาณ์ แก้วโพนทอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบวัฒนธรรมทางการเมือง 2) ศึกษาพฤติกรรมทางการเมือง และ 3) พัฒนากิจกรรมการพัฒนาพฤติกรรมสําหรับผู้นําท้องถิ่น ในจังหวัดชัยภูมิ การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ จํานวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม ผู้ให้ข้อมูลสําคัญ จํานวน 25 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และดำเนินการจัดกิจกรรมการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองให้กับผู้นำท้องถิ่น จำนวน 100 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ไคสแควร์ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาประกอบบริบทนำเสนอรายงานแบบพรรณนาเชิงวิเคราะห์
          ผลการวิจัยพบว่า
          1) ดำเนินการพัฒนาตัวชี้วัดรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมือง 6 แบบ คือ 1) แบบคับแคบ
2) แบบไพร่ฟ้า 3) แบบมีส่วนร่วม 4) แบบคับแคบผสมแบบไพร่ฟ้า 5) แบบไพร่ฟ้าผสมแบบมีส่วนร่วม 6) แบบคับแคบผสมแบบมีส่วนร่วม แล้วนำไปศึกษากับกลุ่มเป้าหมาย และพบว่า ผู้นําท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิส่วนใหญ่ มีรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองของเป็นแบบมีส่วนร่วม และแบบไพร่ฟ้าผสมแบบมีส่วนร่วม
          2) ผู้นําท้องถิ่นมีพฤติกรรมทางการเมืองโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีพฤติกรรมทางการเมืองอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ 1) ด้านความเคารพสิทธิของผู้อื่น 2) ด้านการรับผิดชอบต่อหน้าที่ 3) ด้านการยึดถือประโยชน์ส่วนรวม และ 4) ด้านการมีส่วนร่วม ตามลำดับ และรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมทางการเมืองของผู้นําท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ
         3) ผู้วิจัยได้ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองในด้านการครองตน การครองคน และการครองงาน และพฤติกรรมทางการเมืองทั้ง 4 ด้าน สำหรับผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ จำนวน 100 คน และทำการประเมินความพึงพอใจในกิจกรรมการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองโดยรวม พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรี พรหมแก้. (2562). การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของข้าราชการทหารบก. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. 10 (1), 27

ชโรธรา อโนมาศ. (2550). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของนักศึกษาคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ทรงกต พิลาชัย. (2552). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของข้าราชการเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามสารคาม.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว และ สายทิพย์ สุคติพันธ์. (2525). การเมืองของเด็ก. กรุงเทพมหานคร: เจ้าพระยาการพิมพ์.

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2557). วัฒนธรรมทางการเมืองกับการพัฒนาประชาธิปไตยในเขตชนบทอีสาน : กรณีศึกษาประชาชนในเขตหมู่บ้านคำบงและหมู่บ้านสะอาด ตำบลสะอาด อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 31 (3), 63-96

พิกุล มีมานะและ สนุก สิงห์มาตร, (2560) รูปแบบพฤติกรรมการแสดงออกทางการเมืองตามวิถีประชาธิปไตย, วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 4 (2), 40-55.

ไพรัช พื้นชมภู อุดม พิริยสิงห์และศิลป์ ชื่นนิรันดร์. (2562). วัฒนธรรมทางการเมืองระบอบประชาธิปไตยของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสตรีศึกษาร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 10 (4), 119

วรรณธรรม กาญจนสุวรรณ. (2544) วัฒนธรรมทางการเมือง การเมืองการปกครองไทยตามรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: วี.เจ.พริ้นติ๊ง,

Gabriel Almond and Sydney Verba. (1965) The Civic Culture : Political Attitudes and Democracy in Five Nation., Boston: Little, Brown and Co.