การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะด้านการเงิน ที่ส่งผลต่อการเป็นหนี้ของครู

Main Article Content

ธิติ ธาราสุข
มนัสวาสน์ โกวิทยา
สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยเชิงสาเหตุจากทักษะด้านการเงินที่ส่งผลต่อการเป็นหนี้ของครู และศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างเชิงสาเหตุจากทักษะด้านการเงินที่ส่งผลต่อการเป็นหนี้ของครูที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกรมสามัญศึกษา จำกัด  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู ที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ครูกรมสามัญศึกษา จำกัด ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดทักษะด้านการเงิน (Financial Literacy) สำหรับครู แบบ 5 ระดับ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 12 ตัวชี้วัด รวมข้อคำถาม 60 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน และร้อยละ โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
           ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของปัจจัยเชิงสาเหตุจากทักษะด้านการเงินที่ส่งผลต่อการเป็นหนี้ของครูพบว่า ข้อมูลเชิงประจักษ์ด้านความรู้ทางการเงิน  ด้านนโยบายคุ้มครองเงินฝาก (PROTECT) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ 0.932 รองลงมาคือ ด้านเครดิตบูโร (BUREAU) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.897 ด้านการคำนวณดอกเบี้ยของสินเชื่อ (INTEREST) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.878 ด้านการหาร (DEVIDE) ) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.789 ด้านการหาร (DEVIDE) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.695 ตามลำดับ โมเดลองค์ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้านพฤติกรรมทางการเงิน ด้านเปรียบเทียบข้อมูลก่อนซื้อ (COMPARE) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ 0.852 รองลงมาคือ ด้านจัดทาบัญชี (ACCOUNT) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.820 ด้านไตร่ตรองก่อนซื้อ (PONDER) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.662 ด้านจ่ายเงินตรงเวลา (ONTIME) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.660 ด้านการบริหารจัดการเงินเมื่อเงินไม่พอใช้ (MANAGE) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.633 ตามลำดับ และ โมเดลองค์ประกอบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้านทัศนคติทางการเงิน    ด้านการออม (SAVING) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ 1.187 รองลงมาคือ ด้านการใช้เงิน (SPENT) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเท่ากับ 0.615 และ รูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างเชิงสาเหตุจากทักษะด้านการเงินที่ส่งผลต่อการเป็นหนี้ของครู พบว่า การตรวจสอบความเที่ยงตรงของโมเดลการวัดด้วยผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองของตัวแปรสังเกตได้ในปัจจัย ความรู้ทางการเงิน พฤติกรรมทางการเงิน และทัศนคติทางการเงิน พบว่า ตัวแปรสังเกตได้มีค่าน้ำหนักที่ยอมรับได้ คือ 0.50 ขึ้นไป (Hair, Black, Babin & Anderson, 2010) จึงกล่าวได้กว่าตัวแปรแฝงทั้งหมดสามารถวัดได้จากตัวแปรสังเกตได้ดังกล่าว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561).ธนาคารแห่งประเทศไทยกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2561. แหล่งที่มา: https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/Report/Pages/AnnualReport2018_box04.aspx

ธนพร จันทร์สว่าง. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสยาม. (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสยาม.

ปานแก้วตา ลัคนาวานิช. (2561). ทักษะด้านการเงินของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวพันธุ์พื้นเมืองในเขตลุ่มน้ำปากพนัง.วารสารการบริหาร.มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. ฉบับที่ 7 กรกฎาคม 2562. หน้า 111-129.

ปิยดา สมบัติวัฒนา. (2557). แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการเป็นหนี้ครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร: รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

มุกดา โควหกุล. (2558). การจัดการการเงินส่วนบุคคลที่มีผลต่อพฤติกรรม การออมของประชากร ในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สาขาวิชาการเงินและการลงทุน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัย รังสิต.

Hair, J.F., Jr., Black, W.C., Babin, B. J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th ed. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Luwis (2007). Motivation and financial literacy. Financial Service Review 16, 105-116, 2007.

OECD (2016b), “G20/OECD INFE Core Competencies framework on Financial Literacy for Adults” Retrieved from http://www.oecd.org/finance/Core-Competencies-Framework-Adults.pdf