ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นประเภทการวิจัยปริมาณและมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา และ 4) ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู จำนวน 323 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มอย่างง่ายแบบมีสัดส่วน เครื่องมือการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ความสัมพันธ์ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันเป็นบวกทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับ ปานกลาง (rxy = 0.38) และ 4) ผลการวิเคราะห์อำนาจพยากรณ์ พบว่า มีองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ การทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม ความเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ วัฒนธรรมในโลกดิจิทัล และทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล ตามลำดับ สามารถพยากรณ์การดำเนินงานระบบประกันคุณภาพทางการศึกษาของสถานศึกษา ได้ดีที่สุดถึงร้อยละ 57.00 (R2 = 0.57)
Article Details
References
กมลทิพย์ อินแก้วเครือ. (2564, August). ทักษะและภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล.In Proceeding National & International Conference. 2 (14), 985.
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. อุบลราชธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์. (2564). บทบาทของผู้บริหารการศึกษายุคดิจิทัล. นนทบุรี: ศูนย์พัฒนาและประยุกต์วิชาการ ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ชัดสกร พิกุลทอง และสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2565). องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 7 (1), 178-192.
ชัยนาม บุญนิตย์. (2563). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6 (4), 137-149.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นารีรัตน์ คณาจันทร์ และวันทนา อมตาริยกุล. (2563). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารวิชาการสันตพล. 6 (2), 152-161.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุริยาสาส์น.
รัชนีกร เศษโถ และเกรียงศักดิ์ ศรีสมบัติ. (2565). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการ ดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. Journal of Management and Local Innovation. 4 (6), 107-125.
เลอศักดิ์ ตามา และสุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2563). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังหัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารรัชต์ภาคย์. 15 (38), 224-240.
เลอศักดิ์ ตามา และสุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2563). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังหัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารรัชต์ภาคย์. 15 (38). 224-240.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). ทฤษฎีการสดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สกาวรัตน์ เมืองจันทร์ และกัญญ์รัชการย์ เลิศอมรศักดิ์. (2565, August). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถาน ศึกษา. ใน รายงานการประชุม Graduate School Conference. 4 (1), 1283.
สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2553). ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาพระราชบัญญัติ การศึกษาแหงชาติ. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. (2563). การประกันคุณภาพการศึกษาสู่ภาพมาตรฐานที่เป็นเลิศ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. (2565). ตารางจำนวนครูและบุคลากรทางการศึกษา แยกเพศ และตำแหน่ง สพม.เลย หนองบัวลำภู. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 15 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: https://data.bopp-obec.info/emis/person-all-sum-list.php?Area_CODE2=420001.
Hayashi, C. A., & Fisher-Adams, G. (2015). Strengthening Leadership Preparation to Meet the Challenge of Leading for Learning in the Digital Age: Recommendations from Alumni. Educational Leadership and Administration: Teaching and Program Development. 26, 51-67.
Larson, L., Miller, T., & Ribble, M. (2010). 5 Considerations for Digital Age Leaders: What Principals and District Administrators Need to Know about Tech Integration Today. Learning & Leading with Technology. 37 (4), 12-15.
Mahoney, K. R., & Khwaja, T. (2016). Living and Leading in a Digital Age: A Narrative Study of the Attitudes and Perceptions of School Leaders about Media Literacy. Journal of Media Literacy Education. 8 (2), 77-98.
Zhong, L. (2017). Indicators of digital leadership in the context of K-12 education. Journal of Educational Technology Development and Exchange (JETDE). 10 (1), 3.