ปัจจัยที่มีผลต่อนโยบายการบริการผู้สูงอายุในระยะยาวของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินนโยบายการบริการผู้สูงอายุในระยะยาวของไทย โดยบทความนี้นำเสนอผลการศึกษาจากวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 20 คน ได้แก่ เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้อง และ ผู้สูงอายุชาวไทยหลังเกษียณอายุ 60 ปีขึ้นไป และใช้เทคนิค การเก็บตัวอย่างแบบอ้างอิงด้วยบุคคลและผู้เชี่ยวชาญ (Snowball Sampling) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ สำหรับการเก็บข้อมูลในเชิงคุณภาพ โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อมาสร้างข้อสรุปถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อนโยบายการบริการผู้สูงอายุในระยะยาวของไทย ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้สูงอายุ ที่พึงพิจารณาได้จาก ความพร้อมในด้านเศรษฐกิจ การมีสุขภาพที่ดี รวมทั้งความรู้ในการดูแลตนเอง ปัจจัยค่านิยมของสังคมในการดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วยบทบาทของครอบครัวในการดูแลผู้สูงอายุ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุ และปัจจัยบทบาทของรัฐต่อผู้สูงอายุ ในแง่ของบทบาทของหน่วยงานภาครัฐด้านสาธารณสุข และ บทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Article Details
References
วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2556). บทบาทขององค์การนายจ้างต่อปัญหาในสังคมผู้สูงอายุ. วารสารเกษมบัณฑิต, 14 (1), 75-84.
สมศักดิ์ อรรฆศิลป์. (2560). แนวทางการจัดระบบบริการสุขภาพเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. รายงานวิจัยหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2565). ข้อมูลทั่วไปด้านประชากรประมาณการปี พ.ศ. 2563. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.boi.go.th/index.php? page=demographic&language=th
สำนักงานสถิตแห่งชาติ. (2563). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/01.aspx
Counsell, S. R., Callahan, C. M., Clark, D.O., Tu, W., Buttar, A. B., Stump, T. E., and Ricketts G.D. (2007). Geriatric care management for low-income seniors a randomized controlled trial. JAMA. 298 (22), 2623-2633.
Dupuis, K., Kousaie, S., Wittich, W., & Spadafora, P. (2007). Aging research across disciplines: A student-mentor partnership using the United Nation principles for older person. Educational Gerontology. 33, 273-292.
Fairholm, C. (2001). Design for development an innovative adult day center program in the Metro Salt Lake City area. (M.Sc. Thesis). Utah: The University of Utah, Salt Lake.
Hooyman, N. R. & Kiyak, H. A. (2009). Social gerontology a multidisciplinary perspective. Boston: Pearson.
Koff, T. H. (1982). Long – term care: An approach to serving the frail elderly. Canada: Little, Brown and Company.
Swagerty DLJ, Takahashi PY, Evans JM. (1999). Elder mistreatment. American Family Physician. 59 (10),2804-2808.
United Nations ESCAP. (2017). World population ageing 2017 – Highlights. Retrieved from https://www.un.org/en/development/desa/population/publications/pdf/ageing/WPA2017_Highlights.pdf
World Health Organization. (2000). Home-based long-term care: Report of a WHO study group. Geneva: WHO.