การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในแหล่งท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 2) พัฒนารูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 และ 3) ทดลองและประเมินรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 จำนวน 400 คน เลือกตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม แบบประเมินสภาพกิจกรรมและศักยภาพในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และแนวทางการสนทนากลุ่ม ทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ โดยให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 30 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง ตุลาคม 2565 – มีนาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เนื้อหา ผลที่ได้จากการศึกษาสรุปได้ดังนี้
1. สภาพกิจกรรมการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านอุทยานประวัติศาสตร์ การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ เยี่ยมชม ศาสนสถานที่สำคัญ การเลือกซื้อสินค้าในตลาดพื้นเมืองที่พัฒนาจากวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ การแต่งกายพื้นเมือง การเดินทางท่องเที่ยวเพื่อไหว้พระ ไหว้เทพเจ้าในศาลเจ้า หรือการไหว้ขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อความเป็นสิริมงคล
2. รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ที่พัฒนาขึ้น คือ FELW2CS MODEL มีองค์ประกอบตามรายละเอียดคือ F: Fun (ความสนุก) E: Experience (ประสบการณ์) L: Learning (การเรียนรู้) W: Wisdom (ภูมิปัญญา) C: Conserva tion (การอนุรักษ์) C: Creativity (ความคิดสร้างสรรค์) S: Sustainability (ความยั่งยืน) ผ่านการรับรองความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ในระดับมาก
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 พบว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด และ ผลจากการประเมิน ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวสร้างสรรค์ ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 พบว่า FELW2CS MODEL สามารถนำมาใช้ในการท่องเที่ยวได้จริง โดยกิจกรรมมีความคิดสร้างสรรค์ มีความเข้าใจง่าย เสริมสร้างให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีประสบการณ์ตรงร่วมกับเจ้าของพื้นที่ หากผู้ที่เข้ามาทำกิจกรรมมาในรูปครอบครัวจะส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครอบครัว และเป็นกิจกรรมที่รองรับนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม
Article Details
References
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2563). การแบ่งภูมิภาคทางภูมิศาสตร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.royin.go.th
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2562). ไทยศึกษา หน่วยที่ 1-7. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นรินทร์ สังรักษา. (2559). การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร
ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2561). แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สรุปขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวของไทยปี 2562. ม.ป.ท.
“ประกาศ เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570)”. (2565). ราชกิจานุเบกษา เล่ม 139, ตอนพิเศษ 258 ง (1 พฤศจิกายน 2565)
สำนักบริหารยุทธศาสตร์ภาคกลางตอนล่าง 1. (2559). แผนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 (พ.ศ. 2561 - 2564). ออนไลน์. เข้าถึงเมื่อ 26 พฤษภาคม2563. แหล่งที่มา: http://www.industry. go.th/ratchaburi/index.php/regulations/announce/item/11616-1-2561-2564
ลักษณา เกยุราพันธุ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนชาวไทยพวน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ จังหวัดนครนายก. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรภพ วงค์รอด. (2560). แนวทางการการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์. สถาบันวิจัยและพัฒนา: มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์
สัญญา พานิชยเวช และคณะ. (2560). การศึกษาพัฒนาการเมืองสวรรคโลกและมรดกวัฒนธรรมชุมชน สู่การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ โดยเครือข่ายชุมชนคนสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย. สนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ชมพูนุท ภาณุภาส. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมไทยพวนโดยชุมชน. วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การกีฬา. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.