วิธีการเข้าฌานในพระพุทธศาสนา

Main Article Content

พระมหาภิรัฐกรณ์ อํสุมาลี
กาญจนา หาญศรีวรพงศ์

บทคัดย่อ

          วิธีการเข้าฌานหรือวิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุฌาน ในเบื้องต้นนั้น พระโยคีหรือผู้ปฏิบัติจะต้องรับเรียนสมถกัมมัฏฐาน โดยการแสวงกัลยาณมิตรผู้ให้คำแนะนำและพร่ำสอน เมื่อได้กัลยาณมิตรแล้ว พึงทำพิธีมอบตนแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือแก่พระอาจารย์ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและไม่เกิดความสะดุ้งกลัวใดๆ ดังนั้น การเข้าฌานหรือปฏิบัติเพื่อบรรลุฌานจึงต้องปฏิบัติตามกฎมูลฐานเบื้องต้นคือการเข้าฌาน การเลื่อนชั้นฌานโดยวิธีการติดตามลมและการนับลมให้จิตสงบในระดับอุปจารสมาธิ จนเกิด มีสัมปชัญญะ มีสติ จนจิตตั้งมั่นในอารมณ์เดียวเป็นอัปปนาสมาธิ เมื่อองค์ฌานทั้ง ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ปรากฏ ก็นับว่าบรรลุปฐมฌาน เมื่อเจริญสมาธิต่อพร้อมละวิตกวิจารได้ ก็เข้าทุติยฌานได้ เมื่อละปีติได้ก็เข้าตติยฌานได้ และเมื่อละสุขได้ก็จะเข้าจตุตถฌาน มีอุเบกขาและเอกัคคตาเป็นองค์ฌาน การเจริญสมถนั้นเป็นยอดของกรรมฐานและเป็นกรรมฐานที่สามารถจะเป็นทางนำไปสู่การปฏิบัติกรรมฐานข้ออื่นๆ ได้ ส่วนผลของการปฏิบัติจนบรรลุฌานได้นั้น จะทำให้พระโยคีหรือผู้ปฏิบัติมีร่างกายคือมีสุขภาพดี เอิบอิ่ม ผ่องใสและเป็นภูมิคุ้มกันโรคได้ และเป็นการพัฒนาจิตทำให้จิต สงบ ไม่สะดุ้งตกใจ มีสติรอบคอบอยู่เสมอ ครั้นทำกิจการอะไรก็ไม่ขาดตกบกพร่อง และงานที่ทำนั้นก็สำเร็จโดยไม่มีที่ติอีกด้วย ดังเช่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายใช้วิธีการพักผ่อนอย่างสุขสบายในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมสุขวิหาร) นอกนั้น ฌานยังเป็นบาทหรือเป็นฐานแห่งอภิญญาขั้นโลกีย์ คือการใช้สมาธิระดับฌานสมาบัติเป็นฐาน ทำให้เกิดฤทธิ์ต่างๆ ได้ และทำได้เกิดในพรหมโลกได้พระโยคีและผู้ปฏิบัติทั่วไปด้วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). อรรถกถาภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาอรรถกถา. กรุงเทพมหานคร :โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกริณราชวิทยาลัย, 2554.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2555). คัมภีร์วิสุทธิมรรค ภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พันตรี ป.หลงสมบุญ. (2540). พจนานุกรมมคธ- ไทย. กรุงเทพมหานคร : อาทรการพิมพ์.

พระธรรมโกศาจารย์. (ม.ป.ป.). พจนานุกรมธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา, ม.ป.ป..

บุญมี เมธางกูร. (2545). คู่มือการศึกษา พระอภิธรรมมัตถสังคหะ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

วีระ บำรุงรักษ์, ดร., และ สุทธิพงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์. (2520). ประมวลธรรมในพระไตรปิฎก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์รวมข่าวจักรวาล.