สีธรรมชาติเพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์สำหรับผู้สูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันนั้น มีการใช้สารเคมีเป็นส่วนประกอบที่ต้องใช้ในกระบวนการสร้างสรรค์ก่อนจะสำเร็จเป็นภาพผลงาน ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันสน ทินเนอร์ หมึกหรือสีที่ใช้ในการพิมพ์ภาพผลงาน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถส่งผลต่อสุขภาพของผู้ใช้ได้ ในปัจจุบันสีธรรมชาติจึงกลายเป็นทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรสีจากธรรมชาติเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์ศิลปะภาพพิมพ์สำหรับผู้สูงอายุด้วยการออกแบบขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ที่สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น โดยไม่ใช้สารเคมี เพื่อให้ผู้สูงอายุยังสามารถทำสีดังกล่าวขึ้นเองได้ สีธรรมชาติที่ได้พัฒนาขึ้นได้นำมาทดลองจัดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ และปรับปรุงสูตรจนได้สีธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยนำไปทดลองใช้กับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 - 79 ปีที่ยังมีร่างกายแข็งแรง สามารถช่วยเหลือตนเองได้โดยไม่จำแนกเพศในเขตพื้นที่ กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยการรับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมตามความสนใจและสมัครใจ จำนวน 20 คน
ผลการวิจัยพบว่า การคิดค้นและทดลองทำสีจากธรรมชาติจากส่วนผสมของผงสีจากพืช สารช่วยติดสี
แป้งมันสำปะหลัง และน้ำตามอัตราส่วนที่เหมาะสมคือ ผงสีจากพืช 5 กรัม สารช่วยติดสี 250 มิลลิลิตร แป้งมันสำปะหลัง 30 กรัม น้ำ 250 มิลลิลิตร การเตรียมสีธรรมชาติอย่างง่ายจึงมีความเป็นไปได้ในการพัฒนาต่อยอดสำหรับใช้ในการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ และสร้างประโยชน์ต่อสังคมผู้สูงวัยต่อไป
Article Details
References
แฉล้ม สถาพร. (2555). การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ด้วยสีธรรมชาติจากพืชในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจิตรศิลป์. 3 (1), 267-301.
ญาณวิทย์ กุญแจทอง. (2548). ป่าสงวน ภาพพิมพ์สีธรรมชาติ. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้ง.
ธงชัย ยุคันตพรพงษ์. (2551). การทำศิลปะภาพพิมพ์โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น และปลอดมลพิษ.
เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชญตว์ อินทร์ชา. (2561). การศึกษาศิลปะภาพพิมพ์เทคนิคเพลทแม่พิมพ์เจลลาตินด้วยการใช้สีธรรมชาติในท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 8 (2), 109-124.
ชญตว์ อินทร์ชา. (2564, 21 มกราคม). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสําหรับผู้สูงอายุ. (นายกิตติ์นิธิ เกตุแก้ว, ผู้สัมภาษณ์).
ปาริชาติ ศุภพันธ์. (2564, 16 กุมภาพันธ์). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสําหรับผู้สูงอายุ. (นายกิตติ์นิธิ เกตุแก้ว, ผู้สัมภาษณ์).
วาสินี สุขแล้ว. (2558). รูปแบบการจัดกิจกรรมภาพพิมพ์สําหรับนักเรียนประถมศึกษาโดยใช้วัสดุ ในท้องถิ่น.
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาตา ชินะจิตร. (2553). ซอยอิงค์ (Soy Ink) หมึกรักษ์โลก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566.
แหล่งที่มา http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=2&ID=81
สุรชัย เอกพลากร. (2564, 13 กรกฎาคม). การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์ปลอดสารพิษเพื่อส่งเสริมสุขภาวะสําหรับผู้สูงอายุ. (นายกิตติ์นิธิ เกตุแก้ว, ผู้สัมภาษณ์).
Sabour, W. A. (2017). The Non-Toxic Contemporary Approach to Teaching Printmaking Art.
Arts and Design Studies Vol.58.