การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาตามสภาพจริงเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Think-Talk-Write เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผล และความสามารถในการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาตามสภาพจริงเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Think-Talk-Write เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผล และความสามารถในการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาตามสภาพจริงเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Think-Talk-Write และ 3) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาตามสภาพจริงเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Think–Talk–Write กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.12 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ จำนวน 33 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาตามสภาพจริงเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Think– Talk–Write 2) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผล และความสามารถในการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และ 3) แบบบันทึกภาคสนาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test แบบ Dependent
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการสร้างกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาตามสภาพจริงเป็นฐานร่วมกับเทคนิค Think–Talk–Write เพื่อส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผล และความสามารถในการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ มี 8 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นเผชิญกับปัญหา 2) ขั้นทำความเข้าใจปัญหา 3) ขั้นระบุปัญหา/เงื่อนไข 4) ขั้นวางแนวทางปัญหา 5) ขั้นลงมือแก้ปัญหา 6) ขั้นสรุปข้อมูล/ผลงาน 7) ขั้นนำเสนอผลงานและการสะท้อนหรือการติชม และ 8) ขั้นสังเคราะห์ความรู้ และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.67/77.31 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75
2. นักเรียนมีความสามารถในการให้เหตุผล และความสามารถในการสื่อสารและการสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ในระหว่างทำกิจกรรมกลุ่มนักเรียนรู้สึกสนุกและมีกำลังใจในการเรียนเนื่องจากได้ทำงานไปพร้อมกับเพื่อน นักเรียนจะได้เผชิญกับปัญหาที่พบได้ในชีวิตจริง ซึ่งช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียน ทำให้เกิดการระดมความคิด การวิเคราะห์ปัญหา การคิดแก้ปัญหา การให้เหตุผล ลงมือแก้ปัญหาและเขียนสรุปคำตอบที่ได้โดยใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุนเท่านั้น
Article Details
References
ชิดกมล ตองอ่อน และดวงหทัย กาศวิบูลย์. (2563). การศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้การเรียนรู้ที่เน้นปัญหาเป็นฐาน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 13 (1), 24-41.
เดช พละเดช และจินตวีร์ คล้ายสังข์. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ในบริบทการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ด้วยวิธีการอภิปรายร่วมกับเทคนิค Think–Talk–Write เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารสารสนเทศและการเรียนรู้. 31 (2), 45-57.
ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้ เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: บริษัท. สุวีริยาสาส์น จำกัด.
พรชนก จันทิมา. (2559). การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มนต์วลี สิทธิประเสริฐ. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์รวมกับเทคนิค Think-Talk-Write ที่มีต่อความสามารถใน การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (วิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รัตนะ บัวสนธ์. (2551). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2534). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สุริยสาส์น.
วราพรรณ สุกมาก. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช่ปัญหาตามสภาพจริงเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันล้ำค่าสำหรับนักเรียนชั้นประถามศึกษาปีที่ 6. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้. กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอน.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2547 ก). การให้เหตุผลในวิชาคณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544. กรุงเทพมหานคร: เอส. พี. เอ็น. การพิมพ์.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555 ก). การวัดผลประเมินผลคณิตศาสตร์.กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชัน.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มคณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง 2560) ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). สรุปผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). ชุดฝึกอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สิริกาญจน์ สมกล้า. (2561). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้เทคนิค Think-Talk-Write ร่วมกับโมเดล Phases-Methods Combinations ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผล ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง วงกลม. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22 (4), 294-304.
สิริพร ทิพย์คง. (2545). หลักสูตรและการสอนคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พัฒนาคุณภาพวิชาการ(พว.) จำกัด.
สิริวรรณ สุวรรณอาภา. (2544). เอกสารการสอนชุดวิชาระบบการเรียนการสอน Learning teaching system. (พิมพ์ครั้งที่ 14). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อัมพร ม้าคนอง. (2547). การพัฒนาทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในประมวลบทความหลักการและแนวทางการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.
อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์: การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Dila, D.O. (2012). Think-talk-write strategies. from http://syahputri90dila.blogspot.com 2012 /01/ metode-pembelajaran-bahasa-inggris_12.html.
Huinker D. & Laughlin C. (1996). Communication in mathematics K-12 and beyond. United States: National Council of Teachers of Mathematics.
Lynda W.K.N. (2004). Jump start authentic problem-based learning. N.P.: Pearson Education Asia.
Mumme, J. and Shepherd, N. (1993). Communication in mathematics in implementing the K-8 curriculum and evaluation standard. Reston, VA: NCTM.
National Council of Teacher of Mathematics. (1989). Curriculum and evaluation standards for school mathematics. Reston, Virginia: NCTM.
National Council of Teachers of Mathematics. (2000). Principles and standards for school mathematics. Virginia: National Council of Teacher of Mathematics.
Whitney, D.R. and Sabers, D.L. (1970). "Improving Essay Examination III. Use of Item Analysis", Technical Bulletin 11. Mimeographed. University Evaluation and Examination Service.
Woods, D.R. (2012). PBL: An evaluation of the effectiveness of authentic problem-based learning (aPBL). Chemical Engineering Education, 46 (2), 135-144.