การกำกับดูแลกิจการที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของ บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

ลักขณา ดำชู

บทคัดย่อ

          จากเหตุการณ์วิกฤติทางการเงินส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสีย บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำกับดูแลกิจการที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากผู้บริหารของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทั้งหมด และได้รับการตอบกลับ จำนวน 307 แห่ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ   
          ผลการวิจัยพบว่า การกำกับดูแลกิจการ อันได้แก่ บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการ กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมาย สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูง ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ ดูแลให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายใน ความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล สนับสนุนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้นมีอิทธิพลเชิงบวกกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการเสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผลไม่มีอิทธิพลกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ผลจากการวิจัยเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารและนักลงทุนโดยผู้บริหารบริษัทควรสนับสนุนและส่งเสริมให้บริษัทมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความโปร่งใสต่อผู้มีส่วนได้เสียซึ่งจะนำไปสู่ผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนให้กับบริษัทต่อไป 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สามลดา.

กานต์พลู ทิคำ และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2563). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของรายงานทางการเงินจากบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (1), 268-283.

จันทนา สาขากร และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2564). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐิติพรรณ ปราบพาล และคณิตศร เทอดเผ่าพงศ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างคณะกรรมการบริษัทกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสภาวิชาชีพบัญชี. 4 (10), 45-65.

ณฐภศา เดชานุเบกษา และณัฐสพันธ์ เผ่าพันธ์ (2562). การพัฒนาแบบจำลองการพิจารณาความน่าเชื่อถือทางการเงินสำหรับธุรกิจจดทะเบียนในตลาดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์. 14 (2), 143-158.

ณพชร ชินภักดี และพรทิวา แสงเขียว. (2565). อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่มีต่อผลการดำนเนินงานและสภาพคล่องของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 6 (1), 1-8.

ณัฐพัชร์ นวลมณีฐิติ, พัทธนันท์ เพชรเชิดชู และศิริเดช คำสุพรหม. (2563). อิทธิพลของการบริหารความเสี่ยงองค์ที่มีต่อมูลค่ากิจการที่วัดโดยใช้ Tobin’s Q ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์. 34 (111), 243-259.

ณัฐวุฒิ ทรัพย์สมบัติ และคณะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการกํากับดูแลกิจการกับมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใน SET100. WMS Journal of Management Walailak University. 9 (4), 1-14.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2564. แหล่งที่มาhttps://www.sec.or.th/TH/Documents/ CompanyHandbooksandGuidelines/CGcode 2560_th.pdf.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). รายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2564. แหล่งที่มา https://www.set.or.th/company/companylist.html.

นฤมล จิตรเอื้อ และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2562). การส่งเสริมพฤติกรรมการทำงานอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างประสิทธิผลของนวัตกรรมและผลการดำเนินงานขององค์การ. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร. 16 (1), 200-229.

นิตยา ทัดเทียม และพิมพิศา พรหมมา. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกการกำดับดูแลกิจการที่ดีและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET 100). วารสารสุทธิปริทัศน์. 34 (109), 150-161.

นิรมล พลแพงขวา และ ธัญรัตน์ สุวรรณะ. (2565). อิทธพลของบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทและการควบคุมภายในองค์กร ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์. 12 (1), 82-93.

ประภัสสร จรัสอรุณฉาย และ ณัฐวงศ์ พูนพล. (2562). ผลกระทบกลยุทธ์การสื่อสารภายในองค์กรที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของพนักงานสายสนับสนุน กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11 (1), 1-13.

ผกามาศ บุตรสาลี และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2564). อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขันและผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (11), 277-289.

พจนารถ ฤทธิเดช, ปาริชาติ บูรพาศิริวัฒน์ และมัทนชัย สุทธิพันธุ์. (2564). อิทธิพลของผลตอบแทนผู้บริหารต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 13 (2), 60-74.

พรปวีณ์ วรเศรษฐ์พงศา และสุชาติ ปรักทยานนท์. (2563). การกำกับดูแลกิจการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทกลุ่มธุรกิจการเงินในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์. 34 (110), 1-13.

พิธาน แสนภักดี และนฤพล อ่อนวิมล. (2564). คุณลักษณะและค่าตอบแทนของผู้บริหารที่มีอิทธิพลต่อผลการดําเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ฉบับพิเศษครบรอบ 15 ปีมหาวิทยาลัยราชพฤกษ, 385-397.

พิเชษฐ์ สิทธโชคสกุลชัย. (2565). กลไกการกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงาน. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 13. ณ 12 พฤษภาคม 2565. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

มุจรินทร์ วัฒนะสถิต และสุภา ทองคง. (2565). อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่มีผลต่อผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นสามัญของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET100. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์. 6 (1), 1-15.

รจนา ขุนแก้ว และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของคณะกรรมการ คะแนนการกำกับดูแลกิจการและหลักความระมัดระวังทางบัญชีของบริษัท เอ็ม เอ ไอ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 41 (2), 127-147.

วรวุฒิ ไชยศร และบุญสม เกษะประดิษฐ์. (2560). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจกับการพัฒนาที่ยั่งยืนกรณีศึกษาความรับผิดชอบต่อสังคม 6 บริษัท. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 9 (3), 140-151.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2560). หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี สำหรับบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2564. แหล่งที่มา https://www.sec.or.th/cgthailand/TH/Pages/Cgcode/Cgcode.aspx.

สัญชาติ พรมดง, นันทนา นิจจอหอ และนาถรพี ชัยมงคล. (2561). การสร้างประสิทธิภาพของการสื่อสารภายในองค์กรและเพิ่มเพิ่มความสามารถในการเข่งขันทางธุรกิจ. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 1 (1), 1-10.

สัตยา ตันจันทร์พงศ์, ดลยา ไชยวงศ์ และทัดพงศ์ อวิโรธนานนท์. (2564). อิทธิพลของการกำกับดูแลกิจการที่ดี และการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อยที่มีผลต่อราคาหุ้นและผลการดำเนินงาน : หลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี. 17 (56), 57-74.

อรุณี ยศบุตร. (2564). ลักษณะการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการกับผลการดำเนินงานของบริษัท : หลักฐานเชิงประจักษ์จากบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ ประเทศไทย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 9 (1), 233-255.

เอกภาพ เอกวิกรัย. (2562). ผลของการกํากับดูแลกิจการและการเปลี่ยนผู้บริหารสูงสุดต่อผลการดําเนินงานและความเสี่ยงของบริษัท. วารสารวิชาชีพบัญชี. 15 (46), 27-44.

Abdullah, H., & Tursoy, T. (2023). The Effect of Corporate Governance on Financial Performance: Evidence From a Shareholder-Oriented System. Iranian Journal of Management Studies. 16 (1), 79–95.

Armstrong, J. S., & Overton, T. S. (1977). Estimating nonresponse bias in mail surveys. Journal of marketing research. 14 (3), 396-402.

Burak, E., Erdil, O. & Altinday, E. (2017). Effect of corporate governance principle on business performance. Australia Journal of Business and Management Research. 5 (7), 8-21.

Dakhlallh, Mohammad & Rashid, Norfadzilah & Amalina, Wan & Dakhlallh, Abdalrahman. (2021). Ownership Structure and Firm Performance: Evidence from Jordan. Journal of Contemporary Issues in Business and Government. 27 (2), 79-90.

Greiner, M., & Sun, J. (2021). How corporate social responsibility can incentivize top managers: A commitment to sustainability as an agency intervention. Corporate Social Responsibility & Environmental Management. 28 (4), 1360–1375.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B.J., & Anderson, R. E. (2018). Multivariate Data Analysis. 8th ed. Prentice Hall, Upper Saddle River, New Jersey.

Kassaw, Moges. (2023). Corporate Governance Impact on Bank's Financial Performance. Research Journal of Finance and Accounting. 14 (1), 1-11.

Kumar, v., Leone, R.P., Aaker, D.A., Day G.S. (2018). Marketing Research. 13th ed. John Wiley and Sons New York, NY.

Kyere, M., & Ausloos, M. (2021). Corporate governance and firms financial performance in the United Kingdom. International Journal of Finance & Economics, 26 (2), 1871-1885.

Natto, D., & Mokoaleli-Mokoteli, T. (2022, November). External Governance, Corporate Governance, Firm Performance and Economic Growth in the UK and India. In European Conference on Management Leadership and Governance, 18 (1), 482-491.

Parajuli, D., & Shrestha, P. (2020). The relationship between balanced scorecard evaluation approach and organizational performance of commercial banks of Nepal. Research Journal of Finance and Accounting, 11 (18), 1-8.

Salkind, N. J. (2019). Exploring Resrearch (9th Edition). In Pearson Education, Inc.

Yusheng, K., & Anyigbah, E. (2019). The Impact of Board Structure on Firm Performance: Evidence from the Nonfinancial Companies Listed on Ghana. Research Journal of Finance and Accounting, 10 (6), 103-114.