ความรู้ความเข้าใจของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณพงศ์ รัตนพรสุวรรณ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของประชาชนเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ความเข้าใจในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของประชาชนเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ข้อมูลที่ได้จากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างนำมาประมวลผลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สำหรับค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการแจกแจงแบบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variation : ANOVA) หรือ F-testโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาเขตกรุงเทพมหานครที่มี เพศ อายุ อาชีพ รายได้ สื่อสังคมออนไลน์ และช่องทางการรับรู้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ต่างกันมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ไม่แตกต่างกัน ยกเว้น รายได้ ระดับการศึกษา และความถี่ในการใช้งานสื่อต่างกันมีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก วงศ์สวัสดิ์ และคณะ. (2562). ความรู้ความเข้าใจต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสำนักงานใหญ่. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. 7 (2), 53-67.

กันยา สุวรรณแสง. (2532). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพิมพ์บำรุงสาส์น.

ชวาล แพรัตกุล. (2552). เทคนิคการวัดผล. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ดลยา เจริญ. (2562). ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาของผู้มีสิทธิในอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร. บทความวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภารดี เทพคายน. (2564). การศึกษาระดับการเรียนรู้และความเข้าใจของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริการศาสตร์ต่อนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงานและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน. การค้นคว้าอิสระ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ลัดดา กิตติวิภาค. (2532). จิตวิทยาสังคมประยุกต์ทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิคตอรี่ เพาเวอร์ พอยท์.

สุภาภรณ์ ศรีดี. (2563). ศึกษาเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎหมายและจริยธรรมการสื่อสารของนักปกครองท้องที่ จังหวัดสกลนคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม. 2 (10), 1