อิทธิพลของความผูกพันต่อองค์กร ที่มีต่อความตั้งใจอยู่ในงาน : หลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลวิชาชีพ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 2) เพื่อศึกษาความตั้งใจอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของความผูกพันต่อองค์กรที่มีต่อความตั้งใจอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประชากรกลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคุณ
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความผูกพันต่อองค์กรของพยาบาลวิชาชีพในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 2.ความตั้งใจอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3.อิทธิพลของความผูกพันต่อองค์กรที่มีต่อความตั้งใจอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พบว่า ความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจ และด้านบรรทัดฐาน มีอิทธิพลเชิงบวกกับความตั้งใจอยู่ในงานโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และด้านความผูกพันต่อเนื่องมีอิทธิพลเชิงลบกับความตั้งใจอยู่ในงานโดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลของงานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นข้อมูลให้กับโรงพยาบาลในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กรเพื่อรักษาการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญของโรงพยาบาล และลดปัญหาเรื่องอัตราการลาออกของบุคลากรและนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพได้
Article Details
References
กิตติยา ชัชวาลชาญชนกิจ, จิดาภา ถิรศิริกุล และ พรเทพ ศิริวนารังสรรค. (2560). ปัจจัยการคงอยู่ในองค์การของพยาบาลวิชาชีพที่ขาดแคลนของโรงพยาบาล. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 6 (2), 81-86.
กฤษณี ก้อนพิงค์. (2552). ความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลห้องผ่าตัดโรงพยาบาลศิริราช. การค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการสังคมและการจัดการระบบสุขภาพ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กรรัช กุณรินทร์ และ จิราพร ระโหฐาน. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของข้าราชการ ตำแหน่งเสมียนตราอำเภอสังกัดกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 6 (1). 104-115.
คณากร สุขคันธรักษ และ ชวนชื่น อัคคะวณิชชา. (2561). อิทธิพลของความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับองค์กรที่มีต่อความตั้งใจอยู่ในงานกับองค์กร. Veridian E-Journal, Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11 (2 ), 1564-1581.
ชุติมา ทองคำพันธุ์. (2560). การเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนตำบลเทศบาลตำบล และเทศบาลเมือง ในอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
พสชนันท์ บุญช่วย และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2561). อิทธิพลของความสุขในการทำงาน ความ ไว้วางใจในองค์กร และความมั่นคงในงาน ส่งผลต่อความผูกพันและประสิทธิภาพในการ ทำงานของพนักงานบริษัทผลิตอุตสาหกรรม จังหวัดปทุมธานี. Veridian E- Journal,Silpakorn University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 11 (2), 867-885.
พีรยา ทรัพยสารและประสพชัย พสุนนท์. (2563). ความสัมพันธ์ด้านคุณภาพชีวิตในการ ทำงานและความผูกพันต่อองคกร ของอาจารยมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งโดยวิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์คาโนนิคอล. RMUTI JOURNAL Humanities and Social Sciences. 7 (1). 99-113.
ภัทรจาริน หงษา และคณะ. (2564). ความสัมพันธระหวางคุณลักษณะสวนบุคคลกับความตั้งใจคง อยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพในหนวยไตเทียมภาค เอกชน กรุงเทพมหานคร. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข. 7 (3). 475-489.
หัทยา ฉลองภูมิ, เสาวลักษณ์์ นิกรพิทยาและ รังสรรค์ อินทน์จันทน์. (2566). ปัจจัยความพึงพอใจในงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจอยู่ในการคงอยู่กับองค์การ ของกองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 10 (1). 189-200.
อาริญา เฮงทวีทรัพย์สิริ. (2558). ความผูกพันต่อองค์การ บุคลิกภาพห้าองค์ประกอบและความสุขในการทำงานของพยาบาล โดยมีพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การเป็นตัวแปรสื่อ : กรณีศึกษา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สิริพิมพ์ ชูปาน, อารีรัตน์ ขำอยู่, ศิริวัลห์ วัฒนสินธุ์, และดวงใจ วัฒนสินธ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 25 (4). 1-10.
Aaron J. K., Arrominy A., Mohamad F. M. and Norlelawati I. (2020). Relationship between Affective Commitment, Continuance Commitment and Normative Commitment towards Job Performance. Journal of Sustainable Management Studies. 1 (1). 19-27.
Allen, N. J., and Meyer, J. P. (1991). A three-component conceptualization of organizational commitment. Hum. Res. Manage. Rev. 1, 61–89.
Armstrong, J. S., & Overton, T. S. (1977). Estimating nonresponse bias in mail surveys. Journal of Marketing Research, 14 (3), 396-402.
Felicity C., Takawira M. N. and Renier S. (2022). Continuance in organizational commitment: The role ofemotional intelligence, work-life balance support, andwork-related stress. Global Business and Organizational Excellence. 42 (1), 22-38.
Galletta M., Portoghese I., Melis P., Gonzalez C.I., Finco G., D'Aloja E., Contu P., Campagna M. (2019). The role of collective affective commitment in the relationship between work–family conflict and emotional exhaustion among nurses: a multilevel modeling approach. BMC Nurs. 18 (1), 1–9.
Lorie S. Goshin, D. R. Gina Sissoko, Kristi L. Stringer, Carolyn Sufrin, MD, and Lorraine Byrnes, (2020). American. Stigma and US Nurses' Intentions to Provide the Standard of Maternal Care to Incarcerated Women, Journal of Public Health. 1 (110), 93-99.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2018). Multivariate Data Analysis. 8th Edition, Pearson, New York.
Herzberg, F. & Other. (1966). The motivation to work. New York: John Wiley & Sons.
Hyun Sung Oh. (2019). Organizational Commitment Profiles and Turnover Intention: Using a Person-Centered Approach in the Korean Context. ORIGINAL RESEARCH article. 10. 1-9.
Martinus N. and Lena E., (2022). Organizational Commitment and Organizational Sustainability. International Journal of Trend in Scientific Research and Development (IJTSRD). 6 (4), 604-609.
Mohd N. A., Ling T.C., Naseer K. S. (2018). The Relation between Turnover Intention, High Performance Work Practices (HPWPs), and Organizational Commitment : A Study Among Private Hospital Nurses in Malaysia. Asian Academy of Management Journal. 23 (1), 23-51.
Park T, Pierce B. (2020). Transformational leadership and turnover intention in child welfare: A serial mediation model. Journal of Evidence-Based Social Work (United States), 17 (5), 576–592. doi: 10.1080/26408066.2020.1781729.
Yamane. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper &row.
Zaiping J. and Sarana P., (2022). The Relationship between Job Satisfaction, Organizational Commitment, and Turnover Intention of Doctoral Lecturers: A Case Study of niversities in Mianyang, China. Nimit Mai Review. 5 (1) , 22-31.