การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงการเกิดดินโคลนถล่มโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยี ภูมิสารสนเทศร่วมกับข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายวันสูงสุดในรอบ 30 ปี ในพื้นที่ภาคเหนือ ประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญในการเกิดดินโคลนถล่ม และทำการวิเคราะห์การเกิดดินโคลนถล่ม ขอบเขตพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ของประเทศไทย เป็นการรวบรวมข้อมูลปัจจัยที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินโคลนถล่มจาก 25 ชุดข้อมูล เพื่อคัดเลือกปัจจัยที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงการเกิดดินโคลนถล่ม ใช้เทคนิคการซ้อนทับข้อมูลด้วย ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โปรแกรม ArcGIS ผลการศึกษา 10 ปัจจัยที่ใช้วิเคราะห์ เรียงลำดับจากปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดดินโคลนถล่มมากไปน้อย คือ ปริมาณน้ำฝนสูงสุดในรอบ 30 ปี (ปีพ.ศ. 2524 - 2553) ของกรมอุตุนิยมวิทยา), ความลาดชันพื้นที่ (Slope), การใช้ประโยชน์ที่ดิน (Landuse), ระดับความสูงของพื้นที่ (เมตร), ระยะห่างรอยเลื่อน (DF), ระยะห่างจากแหล่งน้ำ (เมตร), การระบายน้ำของดิน, ระยะห่างจากถนน (เมตร), ชนิดของหิน และทิศการรับน้ำฝน เมื่อวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงการเกิดดินโคลนถล่ม 5 ระดับ พบว่าพื้นที่เสี่ยงต่ำที่สุด มีพื้นที่ 22,571.677 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 24.092 อยู่ในแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ตามลำดับ พื้นที่เสี่ยงต่ำ มีพื้นที่ 28,242.155 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 30.144 อยู่ในเชียงใหม่ ลำปาง ตามลำดับ พื้นที่เสี่ยงปานกลาง มีพื้นที่ 20,924.511 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 22.334 อยู่ในเชียงใหม่ เชียงราย ตามลำดับ พื้นที่เสี่ยงสูง มีพื้นที่ 15,952.100 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 17.026 อยู่ในเชียงใหม่ เชียงราย ตามลำดับ พื้นที่เสี่ยงสูงที่สุด มีพื้นที่ 6,000.558 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 6.405 อยู่ในเชียงใหม่ อำเภอเชียงดาว ไชยปราการ เวียงแหง ดอยสะเก็ด เชียงราย อำเภอแม่ฟ้าหลวง แม่จัน แม่สรวย และน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ เชียงกลาง ปัว ตามลำดับ
Article Details
References
กรมทรัพยากรธรณี. (2550). ความรู้เกี่ยวกับดินถล่ม. สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีพิบัติภัย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2565. แหล่งที่มาhttp://www.dmr.go.th/download/Landslide/ what_landslide1.htm
กรมทรัพยากรธรณี. (2553). บัญชีรายชื่อหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่ม. กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2565. แหล่งที่มา http://www.dmr.go.th/download/Landslide/risk-1.htm
กรมทรัพยากรธรณี. (2564). สมุดแผนที่พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่ม ประเทศไทย ฉบับ พ.ศ. 2564 .กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2565. แหล่งที่มา http://www.dmr.go.th/ewtadmin/ewt/dmr_web/more_news.php?cid
กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย. (2553). แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย.
กรีนพีซประเทศไทย. (2565). ผลกระทบของภาวะโลกร้อน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา https://www.greenpeace.org/thailand/explore/protect/climate/impacts
ขนิษฐา กีรติภัทรกาญจน์. (2560). ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์สำหรับการบริหารจัดการอุทกภัยและแผ่นดินถล่มในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 22 (3), 273-296.
คณะทำงานพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเตือนภัยจังหวัดแพร่. (2550). ชนิดของดินถล่มและปัจจัยการเกิดดินถล่ม. กลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดแพร่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2565. แหล่งที่มา http://www.phrae.go.th/Disaster_phrae/doc
คณะสำรวจพื้นที่เกิดเหตุดินถล่มภาคเหนือตอนล่าง. (2550). เหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยดินถล่มบริเวณภาคเหนือตอนล่าง. รายงานวิชาการฉบับที่ กธส 2/2550. กรุงเทพมหานคร: กองธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรธรณี.
จิราภรณ์ ระมัด. (2560). การถล่ม (Slides). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2564, แหล่งที่มาhttps://wbscport.dusit.ac.th/artefact/file/download.php?file=224926&view
ฐานเศรษฐกิจมัลติมีเดีย. (2564). เปิดชื่อ 54 จังหวัดเสี่ยงดินถล่มรับฤดูฝน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา https://www.thansettakij.com/business/480040
ณัฐพงษ์ รักกะเปา, พงศ์พล ปลอดภัย, กานต์ธิดา บุญมา และพรทิพย์ วิมลทรง. (2563). การประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่มด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรณีศึกษา อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฏร์ธานี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/jsid/article/download/ 244008/165906/
ประทุมพร ฟั่นเพ็ง. (2548). พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดดินโคลนถล่มและอุทกภัย ภาคเหนือของประเทศไทย. กรมพัฒนาที่ดิน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา http://e-library.ldd.go.th/library/Ebook/bib2110.pdf
ภัทรรินทร์ โศภิษฐ์ธรรมกุล. (2560). การวิเคราะห์พื้นที่อ่อนไหวต่อการเกิดดินถล่มของอุทยานธรณีสตูลโดยวิธีอัตราส่วนความถี่. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มาhttp://library.dmr. go.th/elib/cgi- bin/opacexe.exe?op
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่. (2565). กิจกรรมตรวจความพร้อมกำลังพลและเครื่องจักรในการป้องกันสาธารณภัย แก้ไขปัญหา อุทกภัยและดินถล่ม ประจำปี 2565. ศูนย์สารสนเทศ อบจ.เชียงราย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มาhttps://region3.prd.go.th/region3_ ci/prchiangrai/news/50209
องค์การบริหารส่วนตำบลนาโป่ง. (มปป.). ดิน–โคลนถล่ม ธรณีพิบัติภัยที่ควรจะรู้จัก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 กันยายน 2565. แหล่งที่มา http://main.bangkokideaeasy.com/file/articlecenter/file 1325.pdf
Kyoji Sass. (2013). Landslides : global risk preparedness. (34-35). (nd.). New York. Springer.