แนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์ด้านการกระจายสินค้าของผู้ประกอบการ เพื่อเข้าสู่การเป็น SMART SME

Main Article Content

แก้วตา บุญร่วม
รวิฐา ทวีพร้อม
พงศ์ภัทร เกียรติประเสริฐ
รุ่งทิพย์ เกษตรสิงห์
สุเนตรา ทองจันทร์
เสกสรร นิสัยกล้า

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะโลจิสติกส์ด้านการกระจายสินค้าของผู้ประกอบการ 2) สร้างคู่มือแนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์ด้านการกระจายสินค้าของผู้ประกอบการในการเตรียมความพร้อมสู่ SMART SME และ 3) ถ่ายทอดเทคโนโลยีโลจิสติกส์ด้านการกระจายสินค้า ประชากรได้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่จดทะเบียนนิติบุคคลรายจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือจาก 4 จังหวัด ประกอบด้วยบุรีรัมย์ จำนวน 3,383 ราย ศรีษะเกษ จำนวน 2,282 ราย สุรินทร์ จำนวน 2,911 ราย และอุบลราชธานี จำนวน 4,824 ราย รวมทั้งสิ้น จำนวน 13,400 ราย (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า, 2562 : 6) กำหนดการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนรายย่อยในเขตอำเภอเมืองของจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีษะเกษ และอุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม คู่มือการฝึกอบรม และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที
          ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะโลจิสติกส์ด้านการกระจายสินค้า ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโลจิสติกส์และการบริหารระบบโลจิสติกส์ โดยรวมอยู่ในระดับ มาก การใช้คู่มือแนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์ถ่ายทอดเทคโนโลยีโลจิสติกส์ด้านการกระจายสินค้า ค่า t เท่ากับ 45.33 แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรมแนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์ด้านการกระจายสินค้า มีผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม ดังนั้นแนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์ด้านการกระจายสินค้า ผู้ประกอบการต้องศึกษาลักษณะโลจิสติกส์ในด้านต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อบริหารระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ ประสบความสำเร็จมีขีดความสามารถทางการแข่งขันเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะเข้าสู่การเป็น SMART SME

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2562). คู่มือการพัฒนาระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 สำหรับธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพาณิชย์

ติณห์ เจริญใจ. (2562). กองโลจิสติกส์ลุยช่วย SMEs ลดต้นทุนขนส่งพันล้าน. ฐานเศรษฐกิจ. ออนไลน์ สืบค้นวันที่ 18 กันยายน 2564. แหล่งที่มา: https://www.thansettakij.com/business/412658

นิวรัตน์ วิจิตรกุลสวัดิ์. (2561). การบริหารต้นทุนโลจิสติกส์กับผู้ประกอบการ SMEs ของไทย. วารสารวไลยลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2561

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น

บุญชัย ธนะสิทธิชัย. (2556). โครงการพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมกับการนำไปใช้ในการประกอบธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs). วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2557). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. (2561). บทบาทของกองทัพในการสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย รองรับยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ.

สุวรรณ หวังเจริญเดช. การบริหารต้นทุนโลจิสติกส์กับผลกำไรของธุรกิจ SMEs. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 9 (18), 97 – 102.

สุธิดา เสถียรมาศ. (2555). การศึกษาอิทธิพลของกลยุทธ์ในการดำเนินงาน การเป็นผู้ประกอบการและการให้ความสำคัญในหน้าที่ทางธุรกิจที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจ SMEs. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร