การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

Main Article Content

ปรัชญา ธงพานิช
พรเทพ เมืองแมน
พีรพงศ์ ทิพนาค

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (2) พัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และ (3) ยืนยันความเหมาะสมของตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรยามาเน่ ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้จำนวนผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 276 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
          ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 31 ตัวบ่งชี้ (2) ผลพัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้ c2 = 766.79, df = 428, c2/df = 1.79, CFI = 0.95, TLI = 0.95, SRMR = 0.03, RMSEA = 0.05 และ (3) ผลการสัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญยืนยันความเหมาะสมสอดคล้องกับตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระแส ชนะวงศ์. (2564). ภาวะผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงในสังคมยุคดิจิทัล. โครงการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ตรวจราชการระดับกระทรวง ประจำปีงบประมาณ 2564. ณ โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพมหานคร.

ศุภิญญา กิจเกตุวิเศษกูล และ ไพบูลย์ ลิ้มมณี. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของครูสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญ สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 20 (3), 37-48.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัย สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังคมที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สมบัติ นามบุรี. (2562). นวัตกรรมและการบริหารจัดการ. วารสารวิจยวิชาการ. 2 (2), 121 -134.

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตคณะรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อำภา ไชยทะ, หทัย น้อยสมบัติ, ภัทรวรรณ คำแปล, และ ชัยยนต์ เพาพาน. (2564). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การนวัตกรรมของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏรอยเอ็ด. 15 (2), 102-112.

Black, K., & Stevenson, P. (2012). Information and Advice. The Inclusion Spectrum incorporating STEP. online. Retrieved Jun 1, 2022. From: http://www.englandath letics.org/disability-athletics/resources.

Bollen, K.A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. John Wiley and Sons, Inc., New York.

Covey, S. R. (2006). Leadership Definitions. A Regional Centre of Excellence. online. Retrieved Jun 1, 2022, from http://www.leadership-studies. com /lsw/definitions.htm

Diamantopoulos, A., & Siguaw, J. A. (2000). Introducing LISREL. London: Sage Publications. https://doi.org/10.4135/9781849209359

Hamel, G., & Labarre, P. (2011). Inventing Management 2.0. The Wall Street Journal, 17 February.

Horth, D. M., & Vehar, J. (2012). Becoming a Leader Who Fosters Innovation. Center for Creative Leadership.

Northouse, P. G. (2007). Leadership: Theory and practice. (4th ed). Thousand Oaks, CA: Sage.

Parker, R., & Bradley, L. (2000). Organisational Culture in the Public Sector: Evidence from Six Organisations. International Journal of Public Sector Management 13. 125-141. http://dx.doi.org/10.1108/09513550010338773

Porter-O’Grady, T., & Malloch, K. (2010). Innovation Leadership: Creating the Landscape of Healthcare. Sudbury, MA: Jones & Bartlett Learning.