องค์การทางศาสนากับการเยียวยาชุมชนในสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

ราชรถ ปัญญาบุญ
พรพิมล เตียมวัง

บทคัดย่อ

        การวิจัยเรื่อง องค์การทางศาสนากับการเยียวยาชุมชนในสถานการณ์โควิด-19 ในจังหวัดภูเก็ต มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาผลกระทบจากวิกฤติสถานการณ์โควิด-19 ของชุมชนในจังหวัดภูเก็ต ศึกษาศักยภาพและบทบาทขององค์การทางศาสนาในการช่วยเหลือเยียวยาชุมชนในจังหวัดภูเก็ต โดยกำหนดขอบเขตของการวิจัยและวิธีการดำเนินการวิจัยด้วยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่าง รวม 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ในชุมชน กลุ่มผู้นำองค์การทางศาสนาทั้ง 5 ศาสนา หรือผู้แทน และ กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ ที่เกี่ยวข้องกับองค์การทางศาสนาและให้ความช่วยเหลือเยียวยาชุมชนที่เกิดการระบาดโควิด-19 ในจังหวัดภูเก็ต โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง และแปลผลข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา แสดงข้อมูลโดยใช้ตารางสรุปผลประกอบการอธิบาย และเขียนบรรยายเชื่อมโยงประเด็นต่างๆ เข้าด้วยกันตามความสัมพันธ์และตามความมุ่งหมายของการศึกษาวิจัย ผลการวิจัยผลกระทบจากวิกฤติสถานการณ์โควิด-19 ของชุมชนในจังหวัดภูเก็ต พบว่า ชุมชนในจังหวัดภูเก็ตที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างภาคบริการ มากที่สุด รายได้ที่เคยได้รับก่อนช่วงโควิด-19 มากที่สุด มีรายได้ มากกว่า 9,000-25,000 บาท ในช่วงวิกฤติโควิด-19 มีรายได้ลดลง ชุมชนที่ได้รับผลกระทบ ส่วนใหญ่รับรู้ รับทราบ ถึงบทบาทขององค์การทางศาสนาด้านสาธารณประโยชนหรือสาธารณกุศลมายาวนานเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี และได้รับความช่วยเหลือเยียวยาในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ กิจกรรมฟื้นฟูด้านจิตใจ การประยุกต์หลักธรรมทางศาสนาในการแก้ไขปัญหา การแจกจ่ายเวชภัณฑ์ เครื่องอุปโภคบริโภค สิ่งของอื่นๆ ที่จำเป็นในการดำรงชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2565). Reskill – ภูเก็ต: จากวิกฤตสู่กลยุทธ์ร่วมเพื่อรับมือ ‘ความท้าทายใหม่’ ในโลกยุคหลังโควิด-19. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2566. แหล่งที่มา https://www.eef.or.th/news-1104222/

เถลิงศักดิ์ นุชประหาร. (2564). รายงานผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ

มกราคม 2566. แหล่งที่มา https://www.phuket.go.th/webpk/file_data/thai_together/ ผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนไทยไปด้วยกัน/ประเด็นด้านสังคมและคุณภาพชีวิต.pdf

บีบีซีนิวส์. (2020, 11 มีนาคม). ไวรัสโคโรนา : อนามัยโลกประกาศให้โควิด-19 เป็น “การระบาดใหญ่” ทั่วโลก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2566 แหล่งที่มา https://www.bbc.com/thai/inter national-51838536

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. (2558). รายงานการวิจัยการเสริมสร้างสุขภาวะ และการเรียนรู้ของสังคมตามแนวพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจาอยูหัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2564). โครงการประเมินผลกระทบของโควิด-19 ต่อสังคมและเศรษฐกิจ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2566. แหล่งที่มา https://tdri.or.th/ 2021/05/ covid-132/

สายสนิท พงศ์สุวรรณ และคณะ. (2564). ผลกระทบและการปรับตัวของครัวเรือนวิถีใหม่ในสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จังหวัดภูเก็ต. เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ครั้งที่ 13. 15 มิถุนายน 2564. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต. SS23-1- 18

หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ. (2564). โควิด-19 ต่อภาคการท่องเที่ยวไทย ผลกระทบและแนวทางการแก้ปัญหา. UWV Policy Brief Tourism. 1 (1), 1 -8.

Tan, Min Min, Musa, Ahmad Farouk, & Su, Tin Tin. (2022). The role of religion in mitigating

the COVID-19 pandemic: the Malaysian multi-faith perspectives. National Library of

Medicine. Health Promotion International. 2022 Feb 37 (1), 1-13. doi: 10.1093/heapro/daab041

Tudor, Mihaela Alexandra, Benea, Anamaria Filimon, &Bratosin, Stefan. (2021). COVID-19

Pandemic Lockdown and Religious Mediatization of Social Sustainability. A Case Study of Romania. International Journal of Environmental Research and Public Health. 18 (2287), 1-23. doi:10.3390/ijerph18052287