การสื่อสารแบรนด์ผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ

Main Article Content

อุมาพร ประชาชิต
กิจติพงษ์ ประชาชิต

บทคัดย่อ

         งานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบรนด์ให้กับผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียนภูเขาไฟ 2) สื่อสารและสร้างการรับรู้ให้กับแบรนด์ผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ และ 3) ประเมินผลการรับรู้แบรนด์ผลิตภัณฑ์ใหม่จากเปลือกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ โดยใช้การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อเก็บข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบและพัฒนาแบรนด์ และใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมินคุณภาพของสื่อที่ใช้ในการสื่อสารแบรนด์ และใช้แบบสอบถามสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน เพื่อประเมินผลการรับรู้แบรนด์ของผู้บริโภค โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการศึกษาพบว่า การสร้างแบรนด์และการสื่อสารการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ใหม่จากเปลือกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษไปสู่ผู้บริโภคโดยใช้ช่องทางสื่อออนไลน์ ไปสู่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและต่างจังหวัด สื่อสารผ่านเพจเฟซบุ๊ก “ใยดี Yaidee sisaket” เป็นหลัก ร่วมกับการนำผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียนภูเขาไฟไปจัดนิทรรศการนำเสนอในเวทีต่างๆ ของหน่วยงานทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด ผลการประเมินคุณภาพของสื่อที่ใช้ในการสื่อสารแบรนด์พบว่า การสื่อสารแบรนด์สินค้าจากการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์มีความน่าสนใจของภาพประกอบคอนเท้นต์เป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือการเข้าถึงช่องทางการสื่อสารมีความเหมาะสม การประเมินผลการรับรู้แบรนด์และผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค พบว่า ความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์และคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ มีการรับรู้อยู่ในระดับดีมาก รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์สามารถสะท้อนถึงวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและทรัพยากรทางธรรมชาติที่โดดเด่นของจังหวัดศรีสะเกษได้ และลำดับต่อมาคือ ผลิตภัณฑ์สะท้อนถึงเสน่ห์และอัตลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษได้ดีมาก ด้วยการสื่อสารที่มีคุณภาพทำให้ได้เกิดการสื่อสารต่อผ่านสื่อกระแสหลักระดับประเทศ เช่น ช่องไทยรัฐออนไลน์ ช่อง Thai PBS ช่อง 8 และ เพจอีจันตลาดแตก ทำให้เกิดการสื่อสารและการรับรู้แบรนด์ผลิตภัณฑ์จากเปลือกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ “ใยดี Yaidee sisaket”ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิจติพงษ์ ประชาชิต. (2561). การสร้างแบรนด์และออกแบบโฆษณาดิจิทัลทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ที่มีผลต่อการรับรู้ของผู้บริโภค. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 10 (2), 295-323.

พัชนี เชยจรรยา (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคทางสื่อออนไลน์. คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์..

พรวิรุณ ปีทอง. (2554). รูปแบบโฆษณาออนไลน์ที่มีผลต่อการเข้าถึงผู้ใช้อินเตอร์เน็ต. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยรามคำแหง:

วริศรา ศรีภิรมย์รักษ์. (2561). การศึกษาการสื่อสารแบรนด์แบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหหานคร: บริษัท ธรรมสารจำกัด.