การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ทางวิทยาศาสตร์ เรื่องแรงพยุงของของเหลวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

โสภณ แสงจันทร์
สิรินภา กิจเกื้อกูล

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เรื่องแรงพยุงของของเหลว และศึกษาการเปลี่ยนแปลงความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 3 แผนระยะเวลา 11 ชั่วโมง แบบสะท้อนการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบวัดความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและการตีความจากคำตอบของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนขั้นที่ 1 ผู้เรียนร่วมกันสังเกตและเลือกปรากฏการณ์ที่สนใจ ขั้นที่ 2 ผู้เรียนร่วมกันการตั้งคำถามและกำหนดปัญหาที่ได้จากการสังเกตปรากฏการณ์ ขั้นที่ 3 ผู้เรียนร่วมกันใช้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านการลงมือปฏิบัติจริงและการหาองค์ความรู้ด้วยตนเอง ขั้นที่ 4 การสะท้อนผลที่ได้จากการทำและการประเมินผลการศึกษาโดยจะใช้วิธีการประเมินผู้เรียนตามสภาพจริง ผลการเปลี่ยนแปลงความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนพบว่า สมรรถนะการอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์มีการพัฒนามากที่สุด รองลงมาได้แก่สมรรถนะการแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์และสมรรถนะการประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มีการพัฒนาน้อยที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินดา พราหมณ์ชู. (2553). ผลของการใช้กิจกรรมการเรียนรู้บริบทเป็นฐานที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา. 2 (1), 33-39.

นัฏฐา มิ่งสุข. (2562). การศึกษาความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเรื่องปัจจัยที่มีผลต่อแรงพยุงในของเหลวของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 5 (2), 119–132.

พิมพลอย ตามตระกูล. (2564). การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เรื่องกรด-เบส ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานรวมกับการใช้เทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

พงศธร มหาวิจิตร. (2560). นวัตกรรมการเรียนรู้จากฟินแลนด์. นิตยสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). 46 (209), 40-45

รุ่งทิวา บุญมาโตน (2560). การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์เรื่องควาทน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วินัย เชาวน์วิวัฒน์, จิราวรรณ คํามา, และ กนกศรี ศรินนภากร. (2564). การศึกษาผลกระทบต่อสภาพฝนของประเทศไทยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยใช้เทคนิคปรับแก้ความคลาดเคลื่อนแบบสเกลเชิงเส้น. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 26 The 26th National Convention on Civil Engineering วันที่ 23-25 มิถุนายน 2564. การประชุมรูปแบบออนไลน์.

สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (2565). จำนวนผู้เข้าสอบ และคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบ O-NET ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำแนกตามสังกัด. กรุงเทพมหานคร: สถาบันทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563). แผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 – 2565(ฉบับทบทวนปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ . กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมกันทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซสพับลิเคชัน.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). จุดอ่อนระบบการศึกษาไทย FOCUS ประเด็นจาก PISA. ออนไลน์. สืบค้น 13 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: www. pisathailand.ipst.ac. th/issue-2017-17

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุนีย์ คล้ายนิล. (2555). การศึกษาวิทยาศาสตร์ไทย:การพัฒนาและภาวะถดถอย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์ รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์. 46 (2), 348–365.

อํานวย เดชชัยศรี, และคณะ. (2539). กระบวนการกลุ่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ศาสนา.

Kompa, J.S. (2017). Remembering Prof. Howard Barrows: Notes on problem-based learning and the school of the future. online. Retrieved 17 April 2023. form https:// joanakompa.com/tag/phenomenon-based-learning/

Nuora, P., & Välisaari, J. (2019). Kitchen chemistry course for chemistry education students: influences on chemistry teaching and teacher education – a multiple case study. Chemistry Teacher International. 2 (1), 1–10.

Butkatunyoo, O. (2018). kānrīanrū dōi chai prākottakān pen thān phư̄a kānsāng mummō̜ng bǣp ʻong rūam læ kān khaothưng lōk hǣng khwām čhing khō̜ng phū rīan [Phenomenon based Learning for Developing a Learner’s Holistic Views and Engaging in the Real World]. Journal of Education Studies. 46 (2), 348–65.

Symeonidis, V., & Schwarz, J. F. (2016). Phenomenon-Based Teaching and Learning through the Pedagogical Lenses of Phenomenology: The Recent Curriculum Reform in Finland. Forum Oświatowe, 28 (2), 31–47.

Viviana, N., & Anna, D. (2018). What, why, and how of phenomenon-based learning. online. Retrieved 25 April 2023. from https://www.onatlas.com/ phenomenon-based learning.