ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

เบญจรัตน์ ราชฉวาง

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร  จำนวน 9 โรงเรียน จำนวน 251 คน จากประชากรทั้งหมด 641 คน โดยใช้ตารางกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่ และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยเทียบสัดส่วน และทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.987 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คำนวณค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของแบบสอบถามที่เป็นแบบมาตรประเมินค่า (Rating Scale) โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (a - Coefficient) ของ Cronbach และใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling:SEM) ด้วยสถิติการวิเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) แบบมีตัวแปรแฝง (Latent Variable) เกณฑ์การพิจารณาความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดล กับข้อมูลเชิงประจักษ์จากค่า Chi-square/df แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ดัชนี GFI และ TLI มีค่ามากกว่า .09 ดัชนี RMSEA ที่มีค่าต่ำกว่า .05 ดัชนี RMR มีค่าต่ำกว่า .08 และ Chi-square/df น้อยกว่า 2
          ผลการวิจัย พบว่า
          1) ปัจจัยสมรรถนะครู (COM)  ปัจจัยความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO) ปัจจัยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (CCL) และปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการ (IL) ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการ ส่งผลทางตรงเชิงบวก และส่งผลโดยรวมต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครู 3) ปัจจัยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญส่งผลทางตรงเชิงบวก และส่งผลโดยรวมต่อสมรรถนะครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ปัจจัยความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ส่งผลทางตรงเชิงบวก และส่งผลโดยรวมต่อสมรรถนะครู อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการ ส่งผลทางตรงเชิงบวก และส่งผลโดยรวมต่อสมรรถนะครู โดยผ่านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 6) รูปแบบของปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ที่ปรับแก้แล้วมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรองกาญจน์ อรุณเมฆ. (2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 5 (3), 14-26.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). สมรรถนะของครูในศตวรรษที่ 21. ครูอาชีพ. กรุงเทพมหานคร.

กฤษณพงศ์ กีรติกร. (2557). “การยกระดับคุณภาพครู”. การประชุมคณะกรรมการปฏิรูประบบผลิต และพัฒนาครู ครั้งที่ 2/2557 วันที่ 24 มกราคม 2557.

กอบศักดิ์ มูลมัย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิภาพการสอนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชนิดา จันทร์สาร. (2561). ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการการศึกษาวิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ฐิติสุดา แก้วหาญ และ ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ .(2564). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 6 (4), 164–175.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาดล สมบูรณ์ .(2565). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ

เขต 2. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5 (1), 250-263.

ประเวศ วะสี. (2544). ยุทธศาสตร์ทางปัญญาและการปฏิรูปการศึกษาที่พาประเทศพ้นวิกฤต. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิค.

พิมพ์พันธ์ เดชะคุปต์. (2550). ทักษะ 5C เพื่อการพัฒนาหน่วยการเรียนรู้และการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา. (2542).พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก . ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2542.

วรรณา เฟื่องฟู. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ). (2561). ปัญหาขาดแคลนครู. กรุงเทพ.มหานคร

สมถวิล ศิลปคนธรรพ์. (2556). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สัญญา สดประเสริฐ .(2562). ศตวรรษที่ 21 : ทักษะการเรียนรู้สู่ความเป็นครูมืออาชีพ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2 (1), 1-12.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2555). ครุศึกษากับความเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย. กรุงเทพมหานคร: พัชรินทร์ พี.พี.

สุนทรพจน์ ดำรงพานิช. (2557). สถิติเพื่อการวิจัย. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อภินันท์ จันตะนี. (2549). การใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการวิจัยธุรกิจ. อยุธยา : ฝ่ายบัณฑิตศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

เอื้องอุมา โยสาจันทร์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะในการปฏิบัติงานของครูกลุ่มเครือข่ายปางสีดา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้วเขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Felipe Oyarzo Pineida. (2011). Competencies for the 21st Century: Integrating ICT to Life, School and Economical Development. Procedia - Social and Behavioral Sciences. 28, 54–57.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607–610.

Nessipbayeva, Olga. (2012). The Competencies of the Modern Teacher. Bulgarian Comparative Education Society, Paper presented at the Annual Meeting of the Bulgarian Comparative Education Society.

Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday.