ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

Main Article Content

ธิชาภา นาคเสพ
สุกัญญา สุดารารัตน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษ   ที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นนทบุรี และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ประสบการณ์ และขนาดโรงเรียน
          โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ ประสบการณ์ และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 315 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ 0.98 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test independent และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD
         ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการคิดเชิงปฏิวัติ รองลงมาคือ ด้านความคิดความเข้าใจระดับสูง ด้านความสามารถในการนำปัจจัยนำเข้าที่หลากหลายเพื่อกำหนดกลยุทธ์ ด้านความคาดหวังและการสร้างโอกาสสำหรับอนาคต ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์เชิงสร้างสรรค์ ตามลำดับและ 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีในภาพรวม พบว่า ครูที่มีเพศ และประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนครูที่ขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (2560-2564). กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ธัญวิทย์ ศรีจันทร์ และคณะ. (2559). การวิเคราะห์องค์ประกอบคุณลักษณะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษา. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. 29 (2), 1-17.

นวลจันทร์ จุนทนพ. (2559). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

พรชัย เจดามาน และคณะ. (2560). ศตวรรษที่ 21 : การจัดการองค์กรและทรัพยากรมนุษย์กับประเทศไทย 4.0. กรุงเทพมหานคร: สูตรไพศาลบิวเดอร์.

เพ็ญประภา สาริภา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่าผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ภาวิณี รุ่มรวย และ พรศักดิ์ สุจริตรักษ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์. 22 (1), 210-228.

เยาวรินทร์ ยิ้มรอด. (2559). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพผู้เรียนของโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดในภาคตะวันตก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิรัช บุญรักษ์ และ วิเชียร รู้ยืนยง. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นาเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 18 (83), 72-83.

ศิริเพ็ญ สกุลวลีธร. (2556). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาต่อการบริหารงานของสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สยุมภู เหมือนนิรุทธ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ในสถานศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาอ่างทอง. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ซาฝีน๊ะ แอหลัง. (2561). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา: https://main.Spmnon thaburi.go.th/o13/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564). รายงานสรุปผลการประชุมประจำปี 2558.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). หลักมนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

Dess, G. G. and Miller, A. (1993). Strategic Management. Singapore : McGraw - Hill.

DuBrin, A. J. (2010). Principles of Leadership. (6th ed.). Mason, OH: South-Western Cengage Learning.

Gill, C. (2006). Super Flexibility for Pelleting and More. Feed International. 27 (1), 5 -12.

Gregory G. (1993). Dess and Alex Miller, Strategic Management (Singapore : McGraw- Hill).

Johnson G., and K. (2003). Scholes, Strategic Management in Practice from Exploring Corporate Strategy. 6th ed. London : Prentice- Hall.

Preedy M., R. Glatter , and C. (2003). Wise, Strategic Leadership and Educational Improvement. London : Cromwell.

Yukl, G. (1998). Leadership in organizations. (4th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.