การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสภาพแวดล้อมห้องเรียนอัจฉริยะโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับการเรียนรู้ตามสถานการณ์เพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบทางอุตสาหกรรม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

วลีรัตน์ พุทธาศรี
ศิวนิต อรรถวุฒิกุล
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา
สิทธิชัย ลายเสมา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสภาพแวดล้อมห้องเรียนอัจฉริยะ โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับการเรียนรู้ตามสถานการณ์ 2) เพื่อศึกษาผลการทดลองรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกฯและ 3) เพื่อประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปี 3 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชากระบวนการการขึ้นรูป (Forming Processes) จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกฯ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ (3) แบบประเมินด้านทักษะกระบวนการปฏิบัติงาน (4) แบบประเมินด้านผลงานด้านผลงาน/ชิ้นงาน (5) แบบสอบถามความพึงพอใจฯ และ (6) แบบประเมินรับรองรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า t-test และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s sample correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า
          1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกฯ ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ผู้สอน 2) ผู้เรียน 3) สภาพแวดล้อมห้องเรียนอัจฉริยะ 4) เนื้อหา 5) กิจกรรมการเรียนรู้ 6) ปฏิสัมพันธ์การสื่อสาร และ 7) วัดและประเมินผล ด้านกระบวนการ (Process) ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้น 1 ระบุปัญหา ขั้น 2 รวบรวมข้อมูล ขั้น 3 ออกแบบ ขั้น 4 ดำเนินการผลิต ขั้น 5 ทดสอบและประเมินผล ขั้น 6 นำเสนอ และด้านปัจจัยนำออก (Output) ได้แก่ สมรรถนะการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบอุตสาหกรรม
          2) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกฯ พบว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนความรู้ คะแนนทักษะ และคะแนนผลงาน มีความสัมพันธ์กันเป็นไป  ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผู้เรียนมีความพึงพอใจในรูปแบบฯ อยู่ในระดับมาก (  = 4.30,   = 0.64) ผลการรรับรองรูปแบบฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (  = 4.55, = 0.37)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขวัญตา บุญวาศ และคณะ. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับอาจารย์พยาบาล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลราชชนนี กรุงเทพ. 35 (1), 290-302.

ดรุณนภา นาชัยฤทธิ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้ร่วมกันโดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ การคิดแก้ปัญหา และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทึมของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิสรีน พรหมปลัด และคณะ. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในสภาพแวดล้อมการเรียนแบบยูบิควิตัส เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ด้านศิลปะอิสลาม. วารสารการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้. 1 (1), 80-95.

พัชรา วงค์ตาผา และเนาวนิตย์ สงคราม. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมของนิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ ราชมงคลธัญบุรี. 17 (2), 37-47.

ศิรินนาถ ทับทิมใส. (2563). ผลการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง พลังงานความร้อน ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและสงเสริมการจัดการเรียนรูเชิงรุก (Active Learning) ตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพชุมนุมสหกรณการเกษตรแหงประเทศไทย จํากัด

สุนันท์ สีพาย และไพฑูรย์ สินลารัตน. (2561). เปลี่ยนผ่านการศึกษาไทยสู่ การศึกษา 4.0. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 24 (2), 13-27.