รูปแบบการส่งเสริมอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์ของอุโบสถในจังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

ประภาส แก้วเกตุพงษ์
วิเชียร แสนมี
จุรี สายจันเจียม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์ของอุโบสถในจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อการส่งเสริมอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์ของอุโบสถในจังหวัดร้อยเอ็ด 3) เพื่อเสนอรูปแบบการส่งเสริมอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์ของอุโบสถในจังหวัดร้อยเอ็ด จากการเก็บรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก คัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1) พระสงฆ์ภายในวัด 2) เจ้าหน้าที่หรือลูกจ้าง 3) ชุมชนของวัด และ 4) นักท่องเที่ยว โดยผู้ให้ข้อมูลจะถูกสุ่มโดยบังเอิญ บุคคลทั้ง 4 กลุ่มนี้อยู่ในพื้นที่ ณ วันที่เก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งหมด จำนวน 24 รูป/คน
          ผลการวิจัยพบว่า
          ความสำคัญของอุโบสถในจังหวัดร้อยเอ็ดทั้ง 4 แห่ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์ของอุโบสถในจังหวัดร้อยเอ็ด มีความสำคัญด้านความงาม คติ ความเชื่อ ของประชาชนในชุมชนและทางจังหวัด การส่งเสริมอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์ของอุโบสถในจังหวัดร้อยเอ็ด ก็ยังคงใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและภูมิปัญญาของช่างในท้องถิ่นในการดูแลรักษา ซึ่งทางวัดและชุมชนได้ส่งเสริมพุทธศิลป์ให้เป็นสถานที่ศึกษาของชุมชน ด้านการดูแลรักษาโบสถ์ ด้านการให้ความรู้ในการอนุรักษ์โบสถ์แก่ประชาชน ด้านความร่วมมือในการส่งเสริมอนุรักษ์โบสถ์กับหน่วยงานราชการ และได้เสนอรูปแบบการส่งเสริมอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธศิลป์ของอุโบสถในจังหวัดร้อยเอ็ดนั้น พระสงฆ์ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจและปลูกฝังให้ประชาชนเห็นความสำคัญของพุทธศิลป์อันทรงคุณค่า ทางราชการควรให้ทุนในการสนับสนุนและเข้ามาช่วยดูแลรักษา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกสุม สายใจ. (2540). การออกแบบนิเทศศิลป์. กรุงเทพมหานคร: โครงการเอกสารตำราและศิลปะ คณะศิลปกรรมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

ชยาภรณ์ สุขประเสริฐ. (2559). การพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์โบราณสถานชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 8 (2), 405-416.

พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2547). สารนิพนธ์พุทธทาสภิกขุว่าด้วย ศาสนา ดนตรี กวี ศิลปะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

พระปลัดเกษม ฐิติสมฺปนฺโน (รอดจากทุกข์). (2554). บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในอำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพมหานคร: เอส อาร์ ปริ้นท์ติ้งแมสโปรดักส์.

พระมหาถาวร ถิรจิตฺโต (จิตรกระเนตร). (2556). บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ และศิลปวัตถุ ในอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พูนชัย ปันธิยะ. (2559). พุทธศิลป์ล้านนา แนวคิด คุณค่า เพื่อเสริมสร้างจริยธรรมทางสังคม: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ร้อยพุบพา พุทธศิลป์. (2549). พุทธศิลป์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2564. แหล่งที่มา https://www.facebook.com/permalink.php?story

อารีย์ นัยพินิจ และคณะ. (2556). ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 5 (1), 31-40.