การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีการสอน ตามสมรรถนะของนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

ไพรวัลย์ ขันทะศิริ
เอกนฤน บางท่าไม้
ศิวนิต อรรถวุฒิกุล
วรวุฒิ มั่นสุขผล

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นในการพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีการสอน ตามสมรรถนะของนักศึกษาวิชาชีพครู 2) เพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือฯ 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือฯ และ 4) เพื่อรับรองรูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ออนไลน์ตามแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือฯ ดำเนินการวิจัยตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบประเมินทักษะ และแบบประเมินคุณลักษณะ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
          ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาความคิดเห็นของอาจารย์ผู้สอน นักศึกษา และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญพบว่า การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์มีความสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีการสอน เพื่อให้นักศึกษาเกิดทักษะตามข้อบังคับครุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา 2. ผลการพัฒนารูปแบบ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ ผู้สอน ผู้เรียน เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน  กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล 3. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะการใช้เทคโนโลยีการสอน มีคุณลักษณะการเรียนรู้ที่เพิ่มสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4. ผลการประเมินเพื่อรับรองรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์

กิตติพงษ์ พุ่มพวง. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิงด้วยการเรียนรู้ร่วมกันผ่านสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ สำหรับผู้เรียนระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์, วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 22 (1), 29-44.

กุลกาญจน์ สุวรรณรักษ์. (2563). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพออนไลน์เพื่อส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูที่ส่งเสริมความสามารถการสร้างสรรค์นวัตกรรรมของนักเรียนประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 13 (2), 184-201.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 5 (1), 1-20.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ และ วศินี รุ่งเรือง. (2561). การพัฒนาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้การพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ. 8 (15), 51-62.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

มยุรี เจริญศิริ. (2563). การพัฒนารูปแบบโรงเรียนชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning ที่ส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของนักเรียนระดับประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (ม.ป.ป.). คู่มือการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. เพชรบุรี: สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน.

วรากร หงษ์โต และ ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2555). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้กระบวนการสร้างความรู้ เพื่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย. 4 (1), 90-101.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

ศิวพร ศรีมังคละ และคณะ. (2561). สมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพื้นฐานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วารสารบัณฑิตศึกษา. 15 (70), 189-197.

สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2563). ผังการสร้างข้อสอบ (Test Blueprint) 3. วิชาการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: https://drive.google.com/ drive/u/0/folders/ 1BTDMW_hfsqu1gw0eSAP4YThvrBK3kReT

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). รายงานประจำปี 2556 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กับเส้นทางการพัฒนาการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: 21 เซ็นจูรี่.

สุธิดา การีมี. (2562). การพัฒนารูปแบบชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพแบบออนไลน์โดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาของครูประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมิตร์ ผูกพานิช. (2560). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกันผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเทคนิคการเขียนสะท้อนความคิด เรื่อง การรู้เท่าทันสื่อ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลายในจังหวัดนครปฐม. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 1. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อนุสรา สุวรรณวงศ์. (2559). คุณลักษณะของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพในบริบทการศึกษาไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 8 (1), 163-175.

Chadnarumarn, Sukkamart and Kantathawat. (2021). Thai Information and Communication Technology (ICT) Student-Teacher Competencies. Turkish Journal of Computer and Mathematics Education. 12 (14), 2737-2748.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3rd Edition. New York: John Wiley & Sons.

Dufour, R., Dufour, R., Eaker, R., & Many, T. (2006). Learning by doing: A handbook for professional learning communities at work. Bloomington : National Education Service.

Hord, S. M. (1997). Professional learning communities: Communities of continuous inquiry andimprovement. Texas : Southwest Educational Development Laboratory.

Li Ming and Yu Zhonggen. (2022). Teachers’ Satisfaction, Role, and Digital Literacy during the COVID-19 Pandemic. Sustainability, 2022 (14), 1-19.

Munditi, A and others. (2021). Learning Agility During Pandemic; Outstanding Strategy in Language Learning by Using Zoom Application. Journal of Physics: Conference Series, 1779 (2021), 1-6.

Ohnigian, S and others. (2021). Optimizing Remote Learning: Leveraging Zoom to Develop and Implement Successful Education Sessions. Journal of Medical Education and Curricular Development. 8, 1-4.

Richey, R.C. (2005). Validating instructional design and development models. In J.M. Spector and D.A.Wiley (Eds.). Innovations in instructional Technology: Essays in Honor of M. David Merrill. Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

Rovinelli & Hambleton. (1976). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity. Tijdschrift Voor Onderwijs Research, 2,49-60.

Tarnoczi, J. (2006). Critical Reflections on Professional learning Communities. Research in Middle Level Education, 28(1).

Taufik, H. and others. (2020). Motivation and Skills of Science Teachers' Online Teaching through Online Learning Training in The Covid-19 Period in Pekanbaru Indonesia. Journal of Physics: Conference Series. 1655 (2020), 1-10.

Wen-chi Vivian Wu and others. (2016). Creating an Online Learning Community in a Flipped Classroom to Enhance EFL Learners’ Oral Proficiency. Educational Technology & Society, 20 (2), 142–157