การบริหารงานแบบประสานความร่วมมือต่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา สวนส้มโอหอมควนลัง จังหวัดสงขลา

Main Article Content

วิศรุตา ทองแกมแก้ว

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาการบริหารงานแบบประสานความร่วมมือที่มีผลต่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา สวนส้มโอหอมควนลัง จังหวัดสงขลา 2) เพื่อรวบรวม และ ถ่ายทอดชุดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นกรณีสวนส้มโอหอมควนลังจากกระบวนการบริหารงานแบบประสานความร่วมมือ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ  กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ 32 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 8 คน ได้แก่ 1) ผู้บริหารเทศบาลเมืองควนลัง 1 คน  2) ผู้บริหารโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์ 1 คน 3) บุคลากรเกษตรอำเภอหาดใหญ่ 1 คน และ 4) เกษตรกรเจ้าของสวนส้มโอหอมควนลัง 5 คน  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติการวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์เนื้อหา
          ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารงานแบบประสานความร่วมมือมีผลต่อการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสวนส้มโอหอมควนลัง จังหวัดสงขลาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน (β1 = 0.975 , p < 0.001)  ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานการวิจัย โดยอิทธิพลของการบริหารงานแบบประสานความร่วมมือสามารถอธิบายการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ร้อยละ 95.0 และ 2) เพื่อให้มีความยั่งยืน ควรมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างชาวสวนกับชาวสวนด้วยกัน การเสนอโครงการจากความเห็นของชุมชนต่อเทศบาลเมืองควนลัง เพื่อให้รัฐมีกระบวนการดูแลในเรื่องของการพัฒนาสายพันธุ์หรือการดำรงสายพันธุ์ให้คุณภาพคงที่ และ การให้ทางชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมการประเมินในกิจกรรม Open House ของโรงเรียน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉัตรทิพย์ ชัยฉกรรจ์. (2560). การจัดการปกครองแบบประสานความร่วมมือ (collaborative governance) : แนวคิด วรรณกรรมคัดสรร และคำสำคัญ. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10 (3), 286-298.

เทศบาลเมืองควนลัง.(2563). ของดีเมืองควนลัง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา http://www.khuanlang.go.th/gallery/detail/37082/data.html

เทศบาลเมืองควนลัง.(2563).ข้อมูลพื้นฐาน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2563. แหล่งที่มา http://www.khuanlang.go.th/content/information/1

ประไพพิมพ์ สุธีวสินนนท์ และ ประสพชัย พสุนนท์. (2559). กลยุทธ์การเลือกตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 29 (2), 31-48.

โรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์.(2563). ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนหาดใหญ่รัฐประชาสรรค์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2564. แหล่งที่มา https://data.bopp-obec.info/web/index_kru.php?School_ID=1090550515

สายสุดา เตียเจริญ และคณะ.(2560). รูปแบบการบริหารจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และความยั่งยืนของชุมชน. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10 (3), 1371-1392.

แสงจันทร์ ศรีประเสริฐ.(2549). กลยุทธ์การนำการจัดการความรู้มาใช้พัฒนาความได้เปรียบในการแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ไทย : ศึกษาธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน). มหาสารคาม: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

เอกรัฐ พิลา. (2558). การระดมทรัพยากรชุมชนด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขต 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. วารสารวิชาการ ศรีปทุม ชลบุรี. 16 (3), 173-181.

เอื้ออนุช ถนอมวงษ์ และคณะ. (2561). การมีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของเยาวชน อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. Journal of the Association of Researchers. 23 (1),115-126.

A. Krause , T. Becker , P.H. Feindt , C. Huyghe , A. Van den Pol-van Dasselaar and M. O’Donovan .(2021). Towards sustainable European grassland farming with Inno4Grass: an infrastructure for innovation and knowledge sharing. Irish Journal of Agricultural and Food Research. 59 (2), 270-278.

Best, J. W. (1997). Research in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs N.J.: Prentice-Hall. Chartchai Na Chiangmai. (2017). Creating efficient collaboration for knowledge creation in area-based rural development. Kasetsart Journal of Social Sciences, 38 (2017), 175-180.

Robert V.Krejcie & Daryle W.Morgan.(1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607 – 610.