ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) ร่วมกับแนวคิด MACRO MODEL ที่มีต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ เรื่อง พอลิเมอร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ณัฐริกา ผาสานคำ
เมษา นวลศรี

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิด MACRO MODEL 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนภายหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิด MACRO MODEL เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ประเมินพัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนภายหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิด MACRO MODEL ตัวอย่างในการวิจัย คือ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในจังหวัดปทุมธานี ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม จำนวน 33 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิด MACRO MODEL 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิด MACRO MODEL สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ภายหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ร่วมกับแนวคิด MACRO MODEL คิดเป็นร้อยละ 70.83 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ผลการประเมินพัฒนาการความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนภายหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับแนวคิด MACRO MODEL ด้วยคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรรยา โท๊ะนาบุตร. (2560). รูปแบบการเรียนด้วยกระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E ในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 15 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา : https://www.kroobannok.com/83399

ชุติมา นุ้ยชิต, จิระสุข สุขสวัสดิ์ และ นิธิพัฒน์ เมฆขจร. (2563). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้รูปแบบแมโครเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่. วารสารบัณฑิตวิจัย. 11 (1), 69-80.

ดิเรก วรรณเศียร. (2560). เอกสารประกอบการสอน MACRO model : รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21 มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 15 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา : http://regis.dusit.ac.th/images/news/1421308421_MACRO/

ธนพร เลิศโพธาวัฒนา. (2561). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาชีววิทยา เรื่อง ยีนและโครโมโซม โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้สำหรับศตวรรษที่ 21: MACRO MODEL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. มหาวิทยาลัยรังสิต: ปทุมธานี.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). MACRO model โมเดลการสอนสู่ศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 15 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.trueplookpanya.com/education/content/84985/- teamet-

เนตรนภา ถาวรสุวรรณ. (2565). การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้รูปแบบ MACRO MODEL ร่วมกับเทคนิคการคิดออกเสียง. ออนไลน์. สืบค้นวันที่ 3 มกราคม2566. แหล่งที่มา : https://fliphtml5.com/vouyq/qbod

พงษ์ธลักษณ์ สิบแก้ว. (2562). เจตคติต่อการจัดการเรียนรู้แบบ MACRO เรื่อง ระบบประสาทของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562, 26 เมษายน 2562 (667-686). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ฟิกรี กีไร. (2561). การเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความคงทนในการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบ MACRO model ร่วมกับเทคนิคแผนผังความคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.

มนัสนันท์ ฟักแก้ว. (2563). การใช้การจัดการเรียนรู้แบบ MACRO model ร่วมกับสื่อจำลองโต้ตอบเสมือนจริง เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ เพื่อพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. คณะศึกษาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่.

เมษา นวลศรี. (2563). การวิจัยทางการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์: ปทุมธานี.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิราพร วิลาจันทร์. (2565). การพัฒนาการคิดเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ทำนาย-สังเกต-นำเสนอ-อธิบาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.