แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐานเพื่อพัฒนาสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

เจษฎา จี๋ก๋อย
สุริยา ชาปู่

บทคัดย่อ

          งานวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐาน เพื่อพัฒนาสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 2) ศึกษาผลการพัฒนาสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน เมื่อจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐานเรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดตาก จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐาน บันทึกสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบวัดสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อคำนวณหาค่าทางสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ขข้อมูลเชิงเนื้อหาและตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า และคำนวณหาค่าทางสถิติ อันได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักฐานควรเป็นประเด็นที่มาจากการสถานการณ์และประเด็นปัญหาที่เข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ใกล้ตัวนักเรียนและมีความน่าเชื่อถือ เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รับรู้ถึงสภาพของหลักฐานและประเด็นปัญหาได้  เป็นการกระตุ้นการใช้แนวคิดของนักเรียนในการพัฒนาสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน พบว่า นักเรียนมีระดับสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืนเพิ่มจากระดับเริ่มต้นเป็นระดับเหนือความคาดหวัง โดยองค์ประกอบของสมรรถนะการอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืนที่นักเรียนมีพัฒนามากที่สุดคือ การเข้าใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลกและในเอกภพ รองลงมาคือการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์เพื่อการอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน การสร้าง ใช้และรู้เท่าทันวิทยาการเทคโนโลยีการสร้างและใช้เทคโนโลยี และการมีคุณลักษณะทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับการเข้าใจระบบธรรมชาติและการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชยการ คีรีรัตน์. (2562). การใช้กระบวนการแก้ปัญหาและโปรแกรม App Inventor พัฒนาทักษะการคิด

เชิงคํานวณ(Computationnal Thinking: CT) สําหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 47 (2), 31-47.

เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2539). ระเบียบวิธีวิจัย. พิษณุโลก. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธีรดา หลงศิริ. (2561). การพัฒนาหลักสูตรสถานที่เป็นฐาน เรื่อง วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการรู้

เรื่องสิ่งแวดล้อม: กรณีศึกษาสถานที่จังหวัดระยอง. วารสารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ. 34 (2), 221-233.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น จำกัด.

พัชราภรณ์ พุทธิกุล. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้

หลักฐานและ การอิงสถานที่เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของเด็กอนุบาล.

วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทราวดี มากมี. (2554). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

(2), 103-108.

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: แนวคิดและการประยุกต์สู่การปฏิบัติการ.

วารสารแพทย์นาวี. 44 (3), 183-197.

ศุภกร สุขยิ่ง. (2560). การจัดการเรียนรู้แบบใช้บริบทเป็นฐานร่วมกับการใช้ข่าวเป็นสื่อเรื่อง สภาพสมดุล

เพื่อพัฒนาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญา

มหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะทาง

วิทยาศาสตร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 24 สิงหาคม 2565. แหล่งที่มา: https://www.ipst.ac.th/news/ 28579/20220614-ipst-3i-2h.html .

สุนทร พลวงศ์. (2551). การพัฒนาการทำงานเป็นทีมของบุลคลในสังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบล

ท่าสะอาด อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). กรอบหลักสูตรสมรรถนะ

การอยู่ร่วมกับธรรมชาติและวิทยาการอย่างยั่งยืน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2565

แหล่งที่มา: https://cbethailand.com/

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: ทิศทางสำหรับครูศตวรรษที่ 21.เพชรบูรณ์:

โรงพิมพ์จุลดิสการพิมพ์.

อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2553). หลักการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์..

Darkwah, V. A. (2006). Undergraduate nursing students’ level of thinking and self-efficacy in

patient education in a context-base learning program. University of Alberta, Canada:

-336.

Eitel, F.& Steiner, S. (1999). Evidence-Based Learning. Medical Teacher, 21, 506-512.

Golding, C. (2011). Educating for critical thinking: thought-encouraging questions in a

community of inquiry. Higher Education Research & Development. 30 (3), 357-370.

Herrington, J., & Oliver, R. (2002). Authentic activities and online learning. ECU Publications:

Greenville, NC, USA, 58-60.

Katayama. (2009). Theory into practice in environmental education: Towards an Evidence-

Based Approach. Doctoral dissertation. Department of Education, University of Bath:

-244.

McNeill, K.L.,Lizotte, D.J.,and Krajcik,J. (2005). IdentifyingTeacher Practicesthat Support

Students’Explanation in Science. The annual meeting of the American Educational

Research Association, Montreal, Canada, 354-362.

NAAEE. (2011). Developing a framework for assessing environmental literacy.

Washington, DC: Author. Online : https://cdn.naaee.org/sites/default/files/inlinefiles/

devframewkassessenvlitonlineed.pdf

Petty, G. (2009). Evidence base teaching: A practical approach (2nd ed.). UK: nelson Thornes:

-258.

Sampson, V., Enderle, P., Grooms, J., and Witte, S. (2013). Writing to Learn by Learning to Write During the School Science Laboratory: Helping Middle and High School

Students Develop Argumentative Writing Skills as They Learn Core Ideas. Science

Education. 97 (5), 643-670.

The United Nations Department of Economic and social affairs. (2002). Breaking down the

barriers to sustainable development: Report of the Nation University. New York, NY:

The United Nations Development of Economic and Social Affairs.

White, B. Y. and Frederiksen, J, R. (1998). Inquiry, Modeling, and Metacognition: Making

Science Accessible to All Students. Cognition and Instruction. 16 (1), 3-118.