ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการใช้กำหนดการเชิงเส้นเพื่อการวางแผนเพาะปลูก สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

วชิรารักษ์ โอรสรัมย์
จารุมาศ แสงสว่าง
อารีญา พันหนองบัว
ชนิกา เติมสุข

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมการใช้กำหนดการเชิงเส้นเพื่อการวางแผนเพาะปลูก สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ตำบลเมืองฝ้าย อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 50 คน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบสอบถาม มีดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ .765 และวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  
          ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.20 , S.D. = .43)  และเมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ที่มีเพศต่างกัน มีความพึงพอใจโดยรวมไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านวิทยากรมีระดับความพึงพอใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ที่มีอายุต่างกัน มีความพึงพอใจโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน เกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความพึงพอใจโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน และเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดง ที่มีประสบการณ์ในการปลูกหอมแดงต่างกัน มีความพึงพอใจโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน     

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). แผนพัฒนาการเกษตรในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2566. แหล่งที่มา https://tarr.arda.or.th/static2/docs/development_plan2559.pdf

บุญชม ศรีสะอาด (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ประวุฒิ ทัศมาลี และ ดวงกมล ปานรศทิพ ธรรมาธิวัฒน์. (2562). การศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรรุ่นใหม่ต่อการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตรรุ่นใหม่ในกรุงเทพมหานคร. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า. 37 (2),

พิศาล สีนวล (2560). การใช้โปรแกรมทางคณิตศาสตร์สําหรับแก้ปัญหาจัดสรรทรัพยากร เพื่อลดเวลาในการวางแผนการผลิต. สาขาวิชาการพัฒนางานอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ไพศาล วรคำ (2559). การวิจัยทางการศึกษา (Education Research). มหาสารคาม: ตักสิลาการพิมพ์.

วรรณี อึ้งสิทธิพูนพร. (2558). ความพึงพอใจในการฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จังหวังสุพรรณบุรี. Veridian E-Journal,Silpakorn University. 8 (3), 1023-1036.

สุนันท์ พืชพันธ์ไพศาล (2552). ความพึงพอใจต่อการเข้าอบรมโครงการส่งเสริมการจัดการที่ยั่งยืน (K SME CARE). สารนิพนธ์ บธ.ม. (การตลาด). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. (องค์การมหาชน) (2566). พืชเศรษฐกิจ สินค้าสร้างรายได้ในครัวเรือนและประเทศ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2566. แหล่งที่มา https://www.arda.or.th/ knowledge_detail.php?id=40&fbclid=IwAR3wtyNK5TyUm6eSyOl6MdNM5r45zMAMQTIrAcpyor9OUHR-LQcJymqOUU4

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). ตารางแสดงรายละเอียดหอมแดง (เนื้อที่เพาะปลูก เนื้อที่เก็บเกี่ยว ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ รายอำเภอ ปีเพาะปลูก2563/64). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2566. แหล่งที่มา https://www.oae.go.th/view/1/ตารางแสดงรายละเอียดหอมแดง/TH-TH

เอนก ศิลปะนิลมาลย์. (2560). เขียนกรอบแนวคิดการวิจัยอย่างไรจึงจะถูก. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 6 (1), 127-134.