การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านภาษาไทยก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทยที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดำเนินการวิจัยด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ร้อยละ และการทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้นมี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 กระตุ้นสติปัญญา ขั้นที่ 2 ขยายหรือเพิ่มพูนสติปัญญา ขั้นที่ 3 สอน ขั้นที่ 4 นำไปใช้ ผลการประเมินกิจกรรมมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.42) มีประสิทธิภาพเท่ากับ 76.15/78.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 2. นักเรียนมีความสามารถการอ่านภาษาไทยหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ทฤษฎีพหุปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.92, S.D. = 0.06)
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2546). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: กระทรง ศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การสงเสริมนิสัยรักการอาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน (Reading and Reading Promotion). กรุงเทพมหานคร: ศิลปาบรรณาคาร.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2523). “การผลิตชุดการเรียนการสอน” เทคโนโลยีและสื่อการศึกษา เล่ม 3 หน่วยที่ 11-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา (4) . กรุงเทพมหานคร: เอส อาร์ พริ้นติ้ง.
Maddox & Jean Viola, (2003), Teacher Training in Multiple Intelligence Straegies and Cooperative Learning Structures to Effect a Change in the Classroom”, Dissertaion Abstracts International. 64 (1), 112-A .
Toth, Kara Robin, (2003), A Study of Teacher’s Perceptions and Implementation of Multiple Intelligence-Centered Instruction in a Connecticut Elementary School, Dissertaion Abstracts International. 63 (11), 3846-A.