การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการสอนอ่านแบบเน้นมโนทัศน์ร่วมกับอินโฟกราฟิก เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามเกณฑ์ 80/80 2) ใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ โดย 2.1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ 2.2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การสร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ ซึ่งพิจารณาความเหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน จากนั้นจึงนำไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง เพื่อประเมินประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 ขั้นตอนที่ 2 การใช้และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 22 คน เครื่องมือวิจัย คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบบันทึกภาคสนาม 3) แบบวัดความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่า t-test แบบ dependent sample และหาค่าประสิทธิภาพโดยใช้สูตร E1/E2 ผลการวิจัย พบว่า 1) ได้กิจกรรมการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นการสังเกตและสำรวจตนเอง 2) ขั้นค้นคว้าและเรียกคืน 3) ขั้นทำความเข้าใจเนื้อหาและบูรณาการ 4) ขั้นติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น มีความเหมาะสมระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.26) และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.48/80.37 และ 2) ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้ำและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรงศึกษาธิการ
ชาญชัย หมันประสงค์ (2556).การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์
ฐาปะนีย์ นาครทรรพ. (2556). ปัญหาภาษาไทยในสังคมปัจจุบัน. เอกสารประกอบคำบรยาย วิชามัธยมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คู่มือการจัดระบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: เทียนวัฒนาพริ้นติ้ง
เพ็ญวิษา วัฒนปรีชานนท์ (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการสอนอ่านแบบเน้นมโนทัศน์และแนวคิดการเรียนรู้แบบสืบสอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านอย่างมี วิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต. วารสารเซนต์จอห์น. 18-19.
รัตนะ บัวสนธ์. (2552). การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คำสมัย.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2545). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิก
อรอนงค์ ตั้งก่อเกียรติ. (2542). การอ่าน: ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและการสืบค้น. กรุงเทพมหานคร: เธิร์ดเวฟเอ็ดดูเคชั่น
Asselin, M. (2004). Supporting Sustains Engagements with Texts. Teacher Librarian. In.Retrieved from www.ebscohost.com
Guthrie & Wigfield. (2000). Engagement and motivation in reading: Handbook of reading research. New York: ErlbaumBack.
Guthrie & Cox. (2001). Classroom conditions for motivation and engagement in reading. Education Phychology,13(3), 383-302.
Mckee, Panl. 1966. A Programme of Instruction for the Elementary School. Boston Houghton Mifflin.