การใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษและความร่วมมือต่อการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษผ่านสื่อสังคมออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบทักษะการเขียนภาษาอังกฤษก่อนและหลังใช้แบบฝึกผ่านสื่อสังคมออนไลน์ 3) ศึกษาความร่วมมือต่อการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ปีการศึกษา 2564 จำนวน 56 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน แบบฝึกเสริมทักษะการเขียน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความร่วมมือต่อการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent Sample t test ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.37/81.80 2) นักเรียนที่เรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์มีค่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3) นักเรียนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือต่อการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษ ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.44
Article Details
References
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2537). สื่อการสอนระดับประถมศึกษา. เอกสารชุดวิชาสื่อการสอน (หน่วยที่ 8 -15). นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธนวรรณ เจริญนาน และคณะ. (2562). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ออนไลน์ด้วย Google Classroom เรื่อง การสร้างสรรค์ชิ้นงานด้วยไมโครซอฟท์เพาเวอร์พ้อย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิยธิดา สมบูรณ์ธนากร และคณะ. (2559). พฤติกรรม การใช้สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน กรณีศึกษา รายวิชาการ ใช้โปรแกรมกราฟิกของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยการอาชีพสว่างแดนดิน. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 6 (1), 115 - 123.
วิภาส วิกรมสกุลวงศ์. (2560). การพัฒนาทบทเรียนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ตามทฤษฏีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน วิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาและฝึกอบรม สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบันฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สินีนาฏ มีศรี. (2559). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนภาษาอังกฤษตามแนวการสอนแบบอรรถฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุดศิริ ศิริคุณ. (2543). การใช้กลวิธีการเรียนแบบร่วมมือด้วยโปรแกรม CIRC เพื่อพัฒนาความสามารถทางการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อรอนงค์ โฆษิตพิพัฒน์. (2558) การเปรียบเทียบผลการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์และสื่อชุมชนของนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาประชามติ. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 1 (3), 63
เอกภพ พรหมสุทธิรักษ์. (2560). การพัฒนาสื่อประสมประกอบการเรียน รายวิชา ส33202 เหตุการณ์ปัจจุบันกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 . วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Ali, D. (2015). Social Networks for Language Learning. Online. Retrieved April 10, 2020, from http://academypublication.
.com /issues2/tpls/vol05/05/25.pdf
Ligia, F. E. (2015) . The Use of Facebook for Educational Purposes in EFL Classrooms. Online. Retrieved June 10, 2021, from http://www.researchgate.net/publication/284431635_The_Use_of_ Facebook_for_ Educational_Purposes_in_EFL_Classrooms
Teeler, D., Gray, P., & Harmer, J. (2000). How to use the internet in ELT: Essex : Pearson Education, c2000.
The Most Popular types of YouTube Videos. (2016). Online. Retrieved from http://mediakix.com/ 2016/02/most-popular-youtube- videos/#gs.6ug9MX8.