สมรรถภาพทางกาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง(ฝ่ายมัธยม) ปีการศึกษา 2565

Main Article Content

ชัญญา ศิริทิพย์สกุล

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายและจำแนกระดับสมรรถภาพทางกายของนักเรียน มัธยมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ประชากร เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ ในปีการศึกษา 2565 จำนวน1,589 คน นักเรียนชาย จำนวน 840 คน และนักเรียนหญิงจำนวน 749 คน จากตาราง เครจซี่และ มอร์แกน ที่ประชากรจำนวน1,600 คนได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 310คน ผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 600 คน เป็นนักเรียนชาย 300 คน และนักเรียนหญิง 300 คน ใช้แบบทดสอบและเกณฑ์มาตราฐานสมรรถภาพทางกาย สำหรับเด็กอายุ 13-18 ปี รายการทดสอบจำนวน 5 รายการ ดังนี้ (1) ดัชนีมวลกาย (2) นั่งงอตัวไปข้างหน้า (3) ดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที (4) ลุก-นั่ง 60 วินาที (5) ยืนยกเข่าสูง 3นาที โดยหาค่าเฉลี่ย(  ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน (S.D.) มีผลการวิจัยดังนี้
           ผลการทดสอบนักเรียนชายมีค่าเฉลี่ย (  ) โดยรวมดัชนีมวลกาย, นั่งงอตัวไปข้างหน้า, ดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที, ลุก-นั่ง 60 วินาที, ยืนยกเข่าสูง 3 เท่ากับ 20.68 กก./ม.², 14.37 เซนติเมตร, 25.85 ครั้ง, 35.79 ครั้ง, 151.08 ครั้ง นักเรียนหญิงมีค่าเฉลี่ย (  ) โดยรวมดัชนีมวลกาย, นั่งงอตัวไปข้างหน้า, ดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที, ลุก-นั่ง 60 วินาที, ยืนยกเข่าสูง 3 นาที เท่ากับ 20.36 กก./ม.², 15.95 เซนติเมตร, 23.03 ครั้ง, 32.94 ครั้ง, 152.37 ครั้ง การทดสอบดัชนีมวลกายของนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับสมส่วน 236 คน คิดเป็นร้อยละ 39.33 การทดสอบนั่งงอตัวไปข้างหน้าโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 336 คน คิดเป็นร้อยละ 61.00 การทดสอบดันพื้นประยุกต์ 30 วินาที โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 199 คน คิดเป็นร้อยละ33.17 การทดสอบลุก-นั่ง 60 วินาที โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 221 คน คิดเป็นร้อยละ 36.83 การทดสอบการยืนยกเข่าสูงขึ้นลง 3 นาที โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 174 คน คิดเป็นร้อยละ 29.00


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 . กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว

คณะกรรมการส่งเสริมกีฬาและการออกกำลังกาย. (2549). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพสำหรับเด็กไทย อายุ 7 - 18 ปี. (พิมพ์ครั้งที่ 2).

เจริญ กระบวนรัตน์. (2531). ร่างกายจากผลที่ได้ออกกำลังกาย. สุขศึกษาพลศึกษาและ สันทนาการ, 79-88

เจริญทัศน์ จินตนเสรี. (2538). วิทยาศาสตร์การกีฬา สําหรับ ผู้ฝึกสอนกีฬาและนักกีฬา . ศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย.

ดำรงณ์ กิจกุศล. (2537). คู่มือออกกำลังกาย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทพิมพ์ดีจำกัด

เบญจมาศ เกิดมาลัย. (2546). เกณฑ์ปกติสมรรถภาพทางกายของนักเรียนช่วงชั้นที่2โรงเรียนเขตบางกะปิ สังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตพลศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ประคอง หนูเอก. (2546). สภาพการดำรงชีวิตที่มีต่อชนิดรูปกายและความอดทนของระบบไหลเวียนเลือด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6โรงเรียนสาธิต สังกัด ทบวงมหาวิทยาลัย ในเขตกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2545. ปริญญานิพนธ์ ศศ.ม. พลศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2549). จิตวิทยาพัฒนาการชีวิตทุกช่วงวัย วัยรุ่น-วัยสูงอายุ. (พิมพ์ครั้งที่ 9) เล่ม 2.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมชาย ลี่ทองอิน. (2550). การเคลื่อนไหวและออกกำลังกายสำหรับเด็กและเยาวชน.ในการสร้างเด็กไทยให้เต็มศักยภาพด้วยการออกกำลังกาย. วุฒอาสาธนาคารสมองกลุ่มสุขภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์ มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของเยาวชน อายุ 13-18 ปี

อภิญญา ว่องสันติวานิช และ วินวงศ์ ว่องสันติวานิช, (2564 ) บทความวิจัยเรื่องสมรรถภาพทางกายของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) 2563. วารสารรามคำแหง ฉบับบัณฑิตวิทยาลัย