การสร้างภาพลักษณ์เกย์แบบใหม่ผ่านน้ำเสียงผู้เล่าในวรรณกรรมเรื่องฤดูหลงป่า

Main Article Content

อรทัย เพียยุระ
มารศรี สอทิพย์
อุมารินทร์ ตุลารักษ์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างภาพลักษณ์ตัวละครเกย์โดยผ่านกลวิธีการใช้น้ำเสียงผู้เล่า(Narrative Voice) ในวรรณกรรมเรื่อง ฤดูหลงป่า ของนามปากกา the neoclassic ผลการศึกษาพบว่าน้ำเสียงที่พบมากที่สุดในนวนิยายเป็นน้ำเสียงสดใส ร่าเริง น้ำเสียงแห่งความสุข สมหวัง ในการประกอบสร้างตัวละครนายเอก และพบการใช้น้ำเสียงเข้ม สุขุม จริงจัง มุ่งมั่น ในการประกอบสร้างตัวละครพระเอก ทำให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ของเกย์ 2 รูปแบบ คือ 1) การสร้างภาพลักษณ์ของเกย์รุ่นใหม่ (New Generation Gay) ที่มีรูปลักษณ์ดีมีฐานะทางสังคมที่ดี และนิสัยดี 2) การสร้างภาพลักษณ์เกย์รุ่นเก่า (Traditional Gay) ที่มีรูปลักษณ์ภายนอกหรือลักษณะทางกายภาพที่แสดงออกถึงความเป็นชายในอุดมคติ คือ มีรูปร่างสูงใหญ่ได้สัดส่วน กำยำล่ำสัน หน้าอกกว้าง แผ่นหลังหนา มีกล้ามเป็นมัด ไว้หนวดไว้เคราดูน่าเกรงขาม มีความเป็นผู้นำ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ มีความน่าเชื่อถือ
          จากการวิเคราะห์กลวิธีการใช้น้ำเสียงในการประกอบสร้างตัวละครเกย์ จะเห็นได้ว่าเป็นการสร้าง ภาพลักษณ์ของเกย์แบบใหม่ โดยถูกสร้างให้เป็นภาพของตัวละครเกย์ที่มีความสุข สมหวัง เป็นที่ยอมรับของครอบครัวและคนรอบข้าง ดังนั้นจึงปรากฏการใช้น้ำเสียงแห่งความสุข สดใส มากที่สุดในนวนิยายเรื่องฤดูหลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตพล สุธีภัทรกุล. (2563). การประกอบสร้างตัวละครชายรักชายในซีรีส์วาย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตร์และนวัตกรรม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชลิตา สุนันทาภรณ์. (2561). รักที่จะรักหลากหลาย: นักเขียนรางวัลซีไรต์กับนิยาย Y ของเธอ. สืบค้นจาก https://thepotential.org/voice-of-new-gen/jidanun-leungpiansamut-interview/

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. มหาสารคาม : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปุรินทร์ นาคสิงห์. (2556). การประกอบสร้างตัวตนเกย์ในภาพยนตร์ไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 39 (2), 35-53.

มารศรี สอทิพย์. (2551). เรื่องเล่าทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช : กลวิธีการเล่าเรื่องกับการสร้างภาพลักษณ์. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุริยา คำกุนะ. (2559). คําพิพากษา : กลวิธีการนําเสนอความขัดแย้ง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.), 22 (3), 70-80.

Munslow, A. (2007). Narrative and History. Macmillan Education UK, 2007.

Sillar, M. O. (1991). Message meaning and culture : Approaches to communication criticism. New York : Harper Collins Publisher.

Theneoclassic. (2562). ฤดูหลงป่า. กรุงเทพมหานคร: สถาพรบุ๊คส์.