แนวทางการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เรื่อง ภูมิอากาศโลก เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางในการจัดการเรียนรู้โดย
ใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เรื่อง ภูมิอากาศโลก และ 2) ศึกษาผลการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เรียนด้วยการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน เรื่อง ภูมิอากาศโลก กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดตาก จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน บันทึกสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม และแบบทดสอบความฉลาดรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย ร้อยละและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยวิธีการตรวจสอบแบบสามเส้า
ผลการวิจัยพบว่า ปรากฏการณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ควรเป็นปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกิดขึ้นจริงในสังคมและใกล้ตัวนักเรียน ที่มีการบูรณาการองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ เปิดโอกาสให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและมีความน่าเชื่อถือ รวมทั้งส่งเสริมให้นักเรียนแยกแยะระหว่างข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นผ่านการศึกษาปรากฏการณ์ เพื่อนำข้อมูลมาใช้เป็นหลักฐานประกอบการตอบคำถามหรืออธิบายปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้พบว่านักเรียนมีระดับความฉลาดรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพิ่มจากระดับน้อยเป็นระดับมาก
โดยองค์ประกอบความฉลาดรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่นักเรียนมีการพัฒนามากที่สุดคือ
ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รองลงมาเป็นการสื่อสารเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีความหมาย และการใช้ข้อมูลเพื่อแก้ไขและลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ ตามลำดับ
Article Details
References
เกตน์สิรี สุวรัตน์. (2564). การพัฒนาความสามารถในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้ แบบปรากฏการณ์เป็นฐาน เรื่อง ระบบหายใจ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์. การศึกษาค้นคว้าอิสระ หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร
ชนัดดา มะโนสร. (2562). การพัฒนาการรู้สภาพภูมิอากาศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการใช้เกม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์. คณะครุศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภษร จุ้ยอินทร์ และสุทธิกัญจน์ ทิพยเกษร. (2559). ความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพที่ได้รับการสอนแบบพีโอพี. วารสารบัณฑิตวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. 7 (2), 153-166.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น จำกัด.
พงศธร มหาวิจิตร. (2562). การประยุกตใชแนวคิดการเรียนรูโดยใชปรากฏการณเปนฐานรวมกับการเรียนแบบเชิงรุกในรายวิชาการประถมศึกษาเพื่อเสริมสรางทักษะการเรียนรูในศตวรรษที่21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 42 (2), 73-90.
พณิดา เตชะผล, กรวี นันทชาด และสมสงวน ปัสสาโก. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยการประยุกต์ใช้การสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับปรากฏการณ์เป็นฐานที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 3 (1), 19-36.
ภาวิณี เดชเทศ. (2561). ผลการใช้กระบวนการกลุ่มและการระดมสมองที่มีต่อความสามารถด้านการพูดนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารครุพิบูล มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 6 (2), 184-194.
วีระยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2558). การวิจัยปฏิบัติการ Action Research. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 2 (1), 29–49.
ศูนย์ดำเนินงาน PISA แห่งชาติ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2564). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร นักเรียนมีควมพร้อมเพียงใดที่จะใช้ชีวิตในโลกที่เชื่อมต่อถึงกัน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2565. แหล่งที่มา https://pisathailand.ipst.ac.th/pisa2018-ready-to-interconnec ted-world/
อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความจริงของผู้เรียน. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 46 (2), 348–365.
Bunnag, N. (2022). หลักสูตรการศึกษาถึงเวลาต้องเปลี่ยน–เมื่อการต่อสู้กับ Climate Change เริ่มต้นที่ห้องเรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2565. แหล่งที่มาhttps://www.sdgmove.com/ 2021/07/06/climate-change-and-education/
Dz. Iliško & O. Dedels. (2018). Dealing with Climate Change as a Wicked Issue via Innovative Approaches. In Walter Leal Filho (Eds.), Climate Literacy and Innovations in Climate Change Education . (pp. 275-288). Springer International.
Islakhiyah, K., Sutopo, S. & Yulianti, L. (2018). Scientific Explanation of Light through Phenomenon-based Learning on Junior High School Student. Advances in Social Science, Education and Humanities Research. 218(ICoMSE 2017), 173–185.
Johnston, JD (2018). Climate Change Literacy to Combat Climate Change and Its Impacts. In Encyclopedia of the UN Sustainable Development Goals (Climate Action). Walter Leal Filho, Anabela Marisa Azul, Luciana Brandli, Pinar Gökcin Özuyar and Tony Wall (Eds). Online. Retrieved August 2, 2022. from : https://link.springer.com/
referenceworkentry/10.1007/978-3-319-95885-9_31
Marzetta, K. L. (2016). Changing the climate of beliefs: A conceptual model of learning design elements to promote climate change literacy. Journal of Sustainability Education, 16, 1-18.
Niepold, F., Herring, D., & McConville, D. (2007). The case for climate literacy in the 21st Century. 5 June 2007. International Symposium on Digital Earth. chrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/http://earthtosky.org/content/climate/PDF_Resources/niepold%20et%20al%20case%20for%20climate%20literacy.pdf
Nielsen, V & Davies, A., (2018). The What, Why, and How of Phenomenon Based Learning. Online. Retrieved March 7, 2023. from : https://www.onatlas.com/blog/phenomenon-based-learning
RCJ Somerville. (2020). Facts and opinions about climate change. Online. Retrieved August 2, 2022. from : https://thebulletin.org/premium/2020-12/facts-and-opinions-about-climate-change/
Spence, A., Poortinga, W., & Pidgeon, N. (2012). The Psychological Distance of Climate Change. Online. Retrieved March 7, 2023. from : https://doi.org/10.1111/j.1539-6924.2011.01695.x
U.S. Global Change Research Program. (n.d.). Climate Chang What's Happening & Why. Online. Retrieved July 13, 2022. from : https://www.globalchange.gov/climate-change/whats-happening-why
World Meteorological Organization. (2022). State of the Global Climate. Online. Retrieved July 13, 2022. from : https://library.wmo.int/doc_num.php?explnum_id=11178