ความเชื่อและวิถีชีวิต ผ้าทอพื้นเมืองชาติพันธุ์ไทพวน จังหวัดลพบุรี

Main Article Content

อรุณี เจริญทรัพย์
ชีวาพร คชฤทธิ์

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารวบรวมข้อมูลด้านวิถีชีวิต ความเชื่อลวดลายผ้าทอพื้นเมืองชาติพันธุ์ไทพวน จังหวัดลพบุรี และ 2) เพื่อศึกษาลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และความหมายของลวดลายในผ้าแต่ละชนิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือผู้ให้ข้อมูลการทอผ้าพื้นเมืองชาติพันธุ์ไทพวนที่คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) ตารางวิเคราะห์ลักษณะผ้าทอพื้นเมือง และ 2) แบบสัมภาษณ์ และนำมาเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านความเชื่อและวิถีชีวิตของการทอผ้ามัดหมี่ มีถิ่นกำเนิดมาจากหมู่บ้าน “บ้านหมี่” ผู้ชายนิยมใช้ผ้าขาวมาคาดเอว แบบลายที่เรียกว่า “ไส้ปลาไหล” และลายมัดหมี่เป็นตาสี่เหลี่ยมแบบตาหมากรุก ส่วนผู้หญิงใส่เสื้อคอกระเช้าจีบโดยรอบเรียกว่า “หม่ากะแล้ง” ถ้าเป็นผู้หญิงแต่งงานแล้วจะสวมเสื้อ “คอกระเช้า” 2. ด้านลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์และความหมายของลวดลายในผ้าแต่ละชนิด จำแนกลวดลายออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ลวดลายพื้นฐานของซิ่นมัดหมี่ และลวดลายของซิ่นมัดหมี่ ซิ่นมัดหมี่แต่ละและประเภทสามารถใช้ทอลวดลายต่าง ๆ กันได้ ซึ่งเป็นลายที่เกิดจากการมัดหมี่ เกิดจากลายประยุกต์กับลายดั้งเดิม โดยไม่มีการดัดแปลงหรือประดิษฐ์ลายใหม่เพิ่มเติม ซึ่งลายซิ่นมัดหมี่ทั้งหมด สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี 3 ประการด้วยกัน คือ วิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและเกษตรกรรม, วิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมทางวัตถุ และวิถีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Aneksuk, B. and Ruangkamnerd, A. (2007). Research report on the dynamics of the Bunkamfah tradition of the Puan ethnic group. in the tourism context of Thailand. Ubon Ratchathani University. Office of the National Cultural Commission Ministry of Culture.

Chantavanich, S. (2010). Qualitative Research Methods. (18th ed.). Chulalongkorn University Press.

Panitkul, P. (2004). Study of names and traditional mudmee weaving system of Thai Puan people. Ban Mi District Lopburi Province According to ethnic semantics. [Master’s thesis, Chulalongkorn University].

Phansuwan, W. (2010). Study on silk weaving development of Mon-Khmer ethnic group in the

South East Region. [Master’s thesis, Mahasarakham University].

Puangpetch, K., Klahan, S., Wachirapanyapong, S. and Kathinthet, T. (2012). Management and participation in cultural tourism development: a case study of the Thai Phuan ethnic group Ban Mi District, Lopburi Province. Rompruek Journal Krirk University, 30(2), 59-78.

Sumsai, K. (2004). The crossing of Thai Phuan women from now on, the tasks to be done are as follows: A case study of crossing gathering at Ban Pa Daeng Collection Center, Nong Phayom Subdistrict, Taphan Hin District, Phichit. [Master’s thesis, Chiang Mai Rajabhat University].

Thumpong, N. (2020), Social and cultural changes of Tai ethnic groups who migrated from Vietnam: a case study of the Thai Puan people, Ban Mi District, Lopburi Province. [Bachelor’s thesis, Silpakorn University].