แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับปฐมวัย : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์

Main Article Content

ศตวรรษ บุตรพา
วจี ปัญญาใส

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่อง แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับปฐมวัย : กรณีศึกษาโรงเรียนบ้านในเมือง  อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) ศึกษาแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับปฐมวัย 3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับปฐมวัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน คณะครูโรงเรียนบ้านในเมือง อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 54 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 1,010 คน รวมทั้งหมด 1,082 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย มี 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ใช้ในการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 และวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน คณะครูโรงเรียนบ้านในเมือง จำนวน 7 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 6 คน รวมทั้งหมด 16 คน กลุ่มที่ 2 ใช้ในการศึกษาวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 2 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 1 คน คณะครูโรงเรียนบ้านในเมือง จำนวน 5 คน และนักจิตวิทยาคลินิกและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เกี่ยวข้องการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย จำนวน 2 คน รวมทั้งหมด 10 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบการสนทนากลุ่ม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
          ผลการวิจัย การศึกษาสภาพการดําเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนระดับปฐมวัย พบว่า วัตถุประสงค์ 1)  แผนการดำเนินงานไม่ชัดเจน การบันทึกข้อมูลไม่เป็นระบบ ครูขาดความรู้ประสบการณ์ค่อนข้างมากในการดำเนินงาน จึงไม่สามารถดำเนินงานระบบดูแลนักเรียนได้อย่างเป็นระบบ รวมถึงผู้ปกครองและหน่วยงานภายนอก ยังขาดความร่วมมือกับทางโรงเรียน วัตถุประสงค์ 2)  แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ครูประจำชั้นดำเนินการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนครบทุกด้านอย่างเป็นระบบ การคัดกรอง ครูประจำชั้นดำเนินการพิจารณาเกณฑ์การจัดกลุ่มนักเรียนและใช้แบบประเมินพฤติกรรมอย่างครบถ้วน การส่งเสริมและพัฒนา ครูประจำชั้นร่วมกับผู้ปกครองจัดกิจกรรมภายในโรงเรียน การป้องกัน ช่วยเหลือและแก้ไข ครูประจำชั้นร่วมกับผู้ปกครองและหน่วยงานภายนอกร่วมในการดูแลนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่มีปัญหา การส่งต่อ ครูประจำชั้นกับผู้ปกครองร่วมกันในการตัดสินใจประสานกับหน่วยงานภายนอก ในกรณีมีการส่งต่อภายนอก วัตถุประสงค์ 3)  ผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คณะครูสายชั้นปฐมวัยโรงเรียนบ้านในเมือง. (2565, 20 มิถุนายน). [สัมภาษณ์ โดย ศตวรรษ บุตรพา, ครูโรงเรียนบ้านในเมือง]

จันทัปปภา บุตรดี. (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาในอำเภอหนองสองห้อง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการวิชาสังคมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

จรินทร์ ชูนาวา. (2564). การดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนครราชสีมา.

ณัฐพรรณ แสงน้ำผึ้ง. (2562). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เทิดศักดิ์ ยะยอง. (2562). การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนบ้านดอยคำ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้กระบวนการบริหารงานวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ธิตินัดดา สิงห์แก้ว. (2562). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้วงจร PDCA : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดป่าตึงห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

พรวิมล กลิ่นศรีสุข. (2564). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษาและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. (2542, สิงหาคม 14). ราชกิจจานุเบกษา, 116(74ก), 5-15.

ฟองจันทร์ กลิ่นสุคนธ์. (2563). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วีระ มีมาก. (2562). การศึกษาผลและแนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์กรุงเทพ.

สุพรรษา ศรีม่วง. (2563). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนกลุ่มพุทธมณฑล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุภัสสร สุริยะ. (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารการศึกษาและผู้นำทางการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.

อารียา ก่อกุศล. (2564). แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประจำสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.