การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เสริมสมรรถนะทางวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษา ตามแนวการเรียนรู้วิถีใหม่ ผ่านโปรแกรม Google Classroom

Main Article Content

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เสริมสมรรถนะทางวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษา ตามแนวการเรียนรู้วิถีใหม่ ผ่านโปรแกรม Google Classroom  2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนของนักศึกษาด้านวิชาชีพครู หลังจากเรียนตามรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เสริมสมรรถนะทางวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษา ตามแนวการเรียนรู้วิถีใหม่ ผ่านโปรแกรม Google Classroom และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เสริมสมรรถนะทางวิชาชีพครู ตามแนวการเรียนรู้วิถีใหม่ ผ่านโปรแกรม Google Classroom กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 40 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการรับสมัครนักศึกษาเข้าร่วมโครงการโดยผ่าน Google form เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เสริมสมรรถนะทางวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษา ตามแนวการเรียนรู้วิถีใหม่  ผ่านโปรแกรม Google Classroom จำนวน 10 แผน  2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นข้อสอบแบบอัตนัย จำนวน 8 ข้อ  และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เสริมสมรรถนะทางวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษา ตามแนวการเรียนรู้วิถีใหม่ จำนวน 30 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าความสอดคล้อง (IOC) ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.d.)
          ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เสริมสมรรถนะทางวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษา ตามแนวการเรียนรู้วิถีใหม่ ผ่านโปรแกรม Google Classroom  มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก ( =4.77) 2) นักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เสริมสมรรถนะทางวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษา ตามแนวการเรียนรู้ วิถีใหม่ ผ่านโปรแกรม Google Classroom มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนร้อยละ 60 ขึ้นไป  และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เสริมสมรรถนะทางวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษา ตามแนวการเรียนรู้วิถีใหม่ ผ่านโปรแกรม Google Classroom อยู่ในระดับมาก ( =4.43)  

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมล โพธิเย็น. (2564). Active Learning: การจัดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์การจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 19 (1), 10-28.

เจริญ ภู่วิจิตร์. (2564). การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม2565.แหล่งที่มา: http://www.nidtep. go.thchromeextension://efaidnbmnnnibpcaj pcglclefindmkaj/http://www.nidtep.go.th/ 2017/publish/doc /20210827.pdf

ฐานิตา ลิ่มวงศ์ และยุพาภรณ์ แสงฤทธิ์. (2562). ห้องเรียนกลับด้าน: การเรียนรู้แนวใหม่สำหรับศตวรรษที่21.วารสาร Mahidol R2R e-Journal. 6 (2), 9-17.

ณัฐพัชร์ บุญเกต. (2564). การบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (8), 69-80.

พิพัฒน์ สุยะ. (2564). การเรียนการสอนแบบออนไลน์: ปรัชญากับการศึกษาและเทคโนโลยี. มติชนสุดสัปดาห์, บทความพิเศษ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม2565.แหล่งที่มา: https://www.matichonweekly. com/column/article_445978

มาตรฐานการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. (2565, 31 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนที่ 20. หน้า 3-31.

ราณีจีนสุทธิ์ และหทัยภัทร จีนสุทธิ. (2564). แนวทางการพัฒนาครูวิถีใหม่ฉลาดรู้เท่าทันดิจิทัล. คุรุสภาวิทยาจารย์. 2 (2), 16-31.

รายละเอียดของมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพครู ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2563, 7 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 109 ง. หน้า 10-14.

วรรณิภา ไชยสัตย์. (2565). การเรียนการสอนออนไลน์ผ่านโปรแกรม Google Classroom ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 24 (1), 213-222.

วิทยา วาโย และคณะ. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาด ของไวรัส COVID-19: แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 14 (34), 285-298.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2561). ผลการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อส่งเสริมทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศด้วยกระบวนการห้องเรียนกลับด้าน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20 (3), 162-172.

ศศิธร บัวทอง. (2560). การวัดและประเมินทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10 (2), 1856-1867.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). การจัดการเรียนการสอนแบบ Active Learning. โครงการจัดการความรู้ (Knowledge Management) คณะเทคโนโลยีการเกษตร. มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

สมชาย รัตนทองคำ. (2556). ลักษณะผู้เรียนระดับอุดมศึกษา (475 788 การสอนทางกายภาพบำบัด). คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์. (2560). กระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานในกระบวนวิชา CEE2205 (ความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็ก). วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์. 32 (2), 1-8.

สุขนิษฐ์ สังขสูตร และจอมเดช ตรีเมฆ. (2564). การศึกษาความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ในสถานการณ์การระบาด ของโรคติดเชื้อโควิด-19 ของมหาวิทยาลัยรังสิต. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจําปี 2564. 1-12.

สุชาดา เกตุดี. (2564). การประยุกต์ใช้ Google Classroom สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ในยุคโควิด-19. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 7 “วิถีพุทธ วิถีชุมชนรากฐานชีวทัศน์เชิงสังคมล้านนาในสังคมวิถีใหม่.” 331-341.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). การสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ.https://www.ocsc.go.thchrome-extension://efaidnbmnnnibpcajpcglclefindmkaj/https ://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb01.pdf

Alecia B. Monteiro. (2012). PREPARING FACULTY TO TEACH IN AN ACTIVE LEARNING CLASSROOM. The Impact of Online Teaching on Higher Education Faculty’s Professional Identity and the Role of Technology: The Coming of Age of the Virtual Teacher. https://eric.ed.gov/?id=ED548998

Zakaryia Almahasees, Khaled Mohsen and Mohammad Omar Amin. (2021). FACULTY’S AND STUDENTS’PERCEPTIONS OF ONLINE LEARNING DURING COVID-19. https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/feduc.2021.638470/ful