การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานอาชีพคหกรรมศาสตร์

Main Article Content

กนกวรรณ ทองตำลึง

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานอาชีพคหกรรมศาสตร์ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและประเมินสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษาที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานรายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานอาชีพคหกรรมศาสตร์ และ (3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะดิจิทัลของนักศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานอาชีพคหกรรมศาสตร์ เป็นการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษารายวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานอาชีพคหกรรมศาสตร์ ภาค 1/2564 จำนวน 30 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีจับฉลาก  เครื่องมือได้แก่ บทเรียนวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานอาชีพคหกรรมศาสตร์  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์และแบบประเมินสมรรถนะดิจิทัลก่อนและหลังเรียน แบบประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพและปริมาณ วิเคราะห์เนื้อหา สังเกตพฤติกรรม การสัมภาษณ์ แบบทดสอบและประเมินผล สถิติที่ใช้ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่เหมาะสม มีองค์ประกอบหลัก ได้แก่ IPO+ RSCP   นั่นคือ 1) ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย วัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา วิธีการจัดการเรียนการสอน ผู้สอน ผู้เรียน สื่อการเรียนการสอน และการประเมินผล 2) กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย ขั้นเตรียมความพร้อม (Ready)  ขั้นหลอมบทเรียน (Study) ขั้นสร้างสรรค์ผลงาน (Creative) และขั้นนำเสนอผลงาน (Presentation)  3) ผลลัพธ์ (Output) ประกอบด้วย ขั้นประเมินผล (Evaluation) 2. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 84.33/85.42  3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสมรรถนะดิจิทัลหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกียรติวรรณ อมาตยกุล. (2553). Super Change สร้างคนรุ่นใหม่ (เพื่อไป) สร้างชาติ. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.

ขวัญชัย ชัวนา และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37 (2), 78-96.

จินตวีร์ คล้ายสังข์. (2560). การผลิตและการใช้สื่ออย่างเป็นระบบเพื่อการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2551). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร: แอคทีฟ ปริ้น.

เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. ครุสภาวิทยาจารย์. 1 (2), 1-10.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2545). วิถีคหกรรมศาสตร์ในประเทศไทย:บทสะท้อนวิสัยทัศน์และกระบวนทัศน์จากปัจจุบันสู่อนาคต. ดุษฎีนิพนธ์ศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2559). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ทริปเปิ้ล กรุ๊ป จำกัด.

เบญจพร พุ่มนวล. (2564). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการเรียนรู้ผ่านสื่อดิจิทัลของนิสิตระดับปริญญาตรี. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินทางการศึกษา: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปรัชญนันท์ นิลสุข และ ปณิตา วรรณพิรุณ. (2556). การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน: สัดส่วนการผสมผสาน. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา. 25 (85), 31-36.

พรชนิตว์ ลีนาราช. (2560). ทักษะการรู้ดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. วารสารห้องสมุด (T.L.A. Bulletin). 2, 76-92.

พรพิพัฒน์ จุฑา. (2564). การเรียนรู้แบบผสมผสาน Blended Learning กับกับวิถี New Normal. วารสาร CDTI MAGAZINE สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา. 1 (1), 4-5.

พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์. (2565). การเรียนการสอนในยุคดิจิทัลกับแนวโน้มการศึกษาในอนาคต. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2565. แหล่งที่มา https://mgronline.com/qol/detail/9650000089156.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2552). กระบวนการออกแบบย้อนกลับ: การพัฒนาหลักสูตรและการออกแบบการสอน อิงมาตรฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. (2563). จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19: จากบทเรียนต่างประเทศสู่การจัดการเรียนรู้ของไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มาhttps://tdri.or.th/ 2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid-19-pandemic/.

มนชิดา ภูมิพยัคฆ์, ทวี สระน้ำคำ และไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานด้วยเทคนิคการเรียนร่วมกันเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ.วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏรอยเอ็ด. 11 (1), 38-47.

มะยุรีย์ พิทยาเสนีย์, สุภาณี เส็งศรี และเกษทิพย์ ศิริชัยศิลป์. (2563). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเทคโนโลยีดิจิทัลของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง. 9 (1), 64-73.

วไลภรณ์ สุทธา และวิกร ตัณฑวุฑโฒ. (2558). การพัฒนาแบบจำลองการเรียนการสอนคหกรรมศาสตร์โดยใช้การเรียนแบบผสมผสานสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วิชัย วงษ์ใหญ่ และ มารุต พัฒผล. (2564). สมรรถนะดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมพร ปานคำ. (2563). พลิกวิกฤติสู่โอกาสของอาชีวศึกษาไทยบนความปกติใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 5 (7), 1-13.

สรพงษ์ สุขเกษม. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานรายวิชาคอมพิวเตอร์สารสนเทศพื้นฐานสำหรับนิสิตปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา.(2561).ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง แนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติเกี่ยวกับสมรรถนะดิจิทัลสำหรับคุณวุฒิระดับปริญญาตรี. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ.2561-2580). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 8 กรกฎาคม 2565. แหล่งที่มา https://onde.go.th/assets/portals/1/files/นโยบายและแผนระดับชาติ.PDF

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2564). แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับ National Digital Learning Platform สำหรับประเทศไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อดุลย์ ภัยชำนาญ, วิชัย นภาพงศ์ และ ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์. (2556). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ

ผสมผสานในรายวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา. วารสารวิชาการอัล-ฮิกมะฮ. มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา. 3 (6), 11-22

อินทิรา รอบรู้. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

Allen, I.E. & Seaman, J. (2005). Growing by degrees :Online Education in the United States .Online. Abstract from Dialog File: Sloan Consortium.

Bonk, C. J., & Graham, C. R. (2004). Handbook of blended learning: Global perspectives.San Francisco, CA: Pfeiffer Publishing.

Bowden, D. (2007). Origins and concepts of digital literacy. In Lan Kshear, C.& Knobel, M.(Eds.). Digital literacies: Concepts, policies and practices. New York. Lang Pub.

Dick, W., Carey, L., Carey, J.O. (2005).The Systematic Design of Instruction (6th Ed). Boston. MA: Allyn and Bacon.

McGriff, Steven J. (2000). Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model. Instructional Systems, College of Education, Penn State University.

Morrison, G. R., Ross, S. M. & Kemp, J. E. (2004). Design effective instruction (4th Ed.). New York: John Wiley & Sons

Smith, P.L; Ragan, T.J. (1999). Instructional Design (2nd edition). New Jersey.Wiley & Jossey Bass Education.

Thorne, K. (2003). Blended Learning: How to Integrate Online & Traditional Learning. London: Kogan

Van Dam, N. (2003). The e-learning Fieldbook. NY. McGraw Hill Company.

Ward, R. (1998). Active, collaborative and case-based learning with Computer-based case scenarios. Computers & Education An International Journal [Online], 30, (1-2), 103-110.

Watanapokakul, S. (2022). Bleded Online Learning: Perceptions and Experiences of EFL University Students and Teachers. rEFLections Journal [Online], 29(1), 60-87.