การจัดการภาพลักษณ์ทางการเมือง ของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565

Main Article Content

สุณีชญาน์ ฉัตรบุรานนทชัย
ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร
จิดาภา ถิรศิริกุล

บทคัดย่อ

          การศึกษาเรื่อง “การจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาบริบททางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565 และ 2. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565 โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยมีแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัย ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้ ได้แก่ ประชาชนในเขตบางนา เขตลาดพร้าว เขตบางแค และเขตทวีวัฒนา จำนวน 400 คน และเก็บข้อมูลโดยวิธีการแบบบังเอิญ (Accidental Technics) สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง
          ผลการศึกษา พบว่า 1.บริบททางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565 นั้น รัฐบาลพยายามสร้างภาพลักษณ์ให้ได้รับการยอมรับจากประชาชนทั้งที่อยู่ภายใต้บริบททางการเมืองทั้งในช่วงหลังการรัฐประหารและการเลือกตั้ง และ 2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565 ได้แก่ การกล่อมเกลาทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยม พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ และการสื่อสารทางการเมือง ต่างมีอิทธิพลต่อการจัดการภาพลักษณ์ทางการเมืองของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พ.ศ. 2557-2565

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. (2562) ความเป็นประชาธิปไตยหลังการรัฐประหาร. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 6 (1), 221-239

ชาญชัย จิตรเหล่าอาพร. (2566) จากรัฐตํารวจสมัยใหมสูประชาธิปไตยครึ่งใบ. วารสารวิชาการไทยและการจัดการ. 4 (1), 110-122

ชูเกียรติ ผลาผล ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์ และพรอัมรินทร์ พรหมเกิด (2562) การกล่อมเกลาทางการเมืองที่นำไปสู่แบบแผนวัฒนธรรมทางการเมืองของผู้นำทางการเมืองในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 19 (4), 47-58.

เชือก โชติช่วย และกนกรัตน์ เลิศชูสกุล (2560) กลยุทธ์การสื่อสารของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา. วารสารรัชต์ภาคย์. 11 (24), 212-223.

ถวิลวดี บุรีกุล (2554) การเมืองเรื่องเลือกตั้งและปัจจัยสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกพรรคการเมือง และผู้สมัคร: วิเคราะห์จากการเลือกตั้ง 3 กค. 2554. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 9 (2), 1-28

นนทวัตร ผาติเสนะ และสมิหรา จิตตลดากร (2565) การสื่อสารทางการเมืองเพื่อการรักษาอำนาจทางการเมืองของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา. วารสารการบริหารปกครอง. 11 (1), 178-191.

ไพบูลย โพธิ์หวังประสิทธิ์ (2557) หนวยตัวแทนและวิธีการของการกลอมเกลาทางการเมืองของประชาชนไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 8 (2), 7-18.

ภาคิน โชติเวศย์ศิลป์. (2562) กลยุทธ์การสื่อสารทางการเมืองของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่มาจากการยึดอำนาจภายใต้วิกฤตความขัดแย้งทางการเมือง. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 8 (1), 15-25.

Anderson and Rubin. (1986). Marketing communications. N J: Prentice Hall.

Chanchai Chitlaoarporn. (2017). Political Party, Interest Group and Election. Pathumthani: Thai Research Development and Management.

Cojocaru and Bragaru. (2012). The role of language in constructing social realities. The appreciative inquiry and the reconstruction of organizational ideology. Revista de cercetare si interventie sociala, 2012(36), 31-43.

Jefkins, Frank. (1982). Public relations mode simple. London: Heinemann.

Kurian, George Thomas. (2011). The encyclopedia of political science. Washington: CQ Press.

Langton, Kenneth P. (1969). Political socialization. Oxford: Oxford University Press.

Nita, Mircea Aurel. (2014). The importance of image management for a good society. Revista De Cercetare Si Interventie Sociala, 2014(44), 308-320.

Pool, Ithiel de Sola. (1968). Communication political. In D. Shills (Ed.), International encyclopedia of social science (p.5). New York: The Macmillan Company and The Free Press.

Pye, Lucian W. (1972). Introduction in communication and political development. New Jersey, NJ: Princeton University Press.