การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างส่วนประสมทางการตลาดบริการกับทัศนคติที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการธนาคารพาณิชย์เอกชนในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
สภาพเศรษฐกิจ คู่แข่งในอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะหลังสภาวการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 ที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคต่อการเลือกใช้บริการธนาคารพาณิชย์เอกชนต่างๆ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมทางการตลาดบริการกับทัศนคติที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการธนาคารพาณิชย์เอกชนในกรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาสหสัมพันธ์คาโนนิคอลระหว่างชุดตัวแปรส่วนประสมทางการตลาดบริการกับชุดตัวแปรทัศนคติที่มีผลในการเลือกใช้บริการธนาคารพาณิชย์ของเอกชนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ใช้บริการธนาคารพาณิชย์เอกชน จำนวน 400 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างตามความสะดวก ในเขตพื้นที่บางกอกใหญ่ ซึ่งได้จากการสุ่มเขตพื้นที่อย่างง่าย ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามที่ได้รับการตรวจสอบคุณภาพแล้วเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้เครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาดบริการมีความสัมพันธ์กับทัศนคติที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการธนาคารพาณิชย์เอกชนในระดับที่สูง ซึ่งมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล (Rc) เท่ากับ 0.896 โดยค่าน้ำหนักคาโนนิคอลของชุดตัวแปรส่วนประสมทางการตลาดบริการจะอยู่ระหว่าง 0.855 - 0.970 และค่าน้ำหนักคาโนนิคอลของชุดตัวแปรทัศนคติที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการจะอยู่ระหว่าง 0.877 - 0.983 โดยในภาพรวม ผู้ตอบแบบสอบถามจะให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์และทัศนคติที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการมากที่สุด
Article Details
References
ภูมิภัทธ์ ปราณีตพลกรัง และนิติพล ภูตะโชติ. (2565). พฤติกรรมการใช้บริการและความพึงพอใจต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการของลูกค้าธนาคารกสิกรไทยสาขาชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. Journal of Modern Learning Development. 7 (10), 46-60.
ชาญวิทย์ บูรณะสันติกุล และศักดิ์สิทธิ์ บุศยพลากร. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเลือกใช้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยกับธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพมนครและปริมณฑล กรณีศึกษา บริษัท ธนาคารกรุงศรีอยุธยาจำกัด (มหาชน). Journal of Modern Learning Development. 7(8), 196-209
ไทยรัฐออนไลน์. (2564). อนาคตของการธนาคาร ที่อาจไม่เหลือ ‘ธนาคาร’ ในอนาคต. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา: https://www.thairath.co.th/news/2118741
ธนาคารกสิกรไทย. (2566). ทิศทางธุรกิจแบงก์ 2023 บริบทใหม่ ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา: www.kasikornbank.com
ปริญญา มิ่งสกุล. (2566). แนวโน้มเทคโนโลยีในภาคธนาคาร ปี 2023. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/tech-trend-2023
เมธาสิทธิ์ ธัญรัตนศรีสกุล. (2559). การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์คาโนนิคอลสำหรับงานวิจัยทางคณิตศาสตร์ศึกษา. วารสารคณิตศาสตร์ MJ-MATh. 61 (690), 13-26
สำนักงานปกครองและทะเบียน สำนักงานปลัดกรุงเทพมหานคร (2566). การแบ่งพื้นที่เขตการปกครองของกรุงเทพมหานคร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา: http://office2. bangkok.go.th/ard/? page_id=4048.
โสรญา แก้วกองสี ชุติมา เรืองอุตมานันท์ และนงลักษณ์ แสงมหาชัย. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างการให้บริการของพนักงานกับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของธนาคารทหารไทยในเขตขอนแก่น. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 14 (3), 174-184
Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. (3rd) Edition, John Wiley & Sons, New York.
Rovinelli, R. J., and Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research. 2 (2), 49-60.
Sherry, A. & Henson, R. K. (2005). Conducting and Interpreting Canonical Correlation Analysis in Personality Research: A User-Friendly Primer. Journal of Personality Assessment. 84 (1), 37-48