การพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์การรู้ค่าจำนวน 1-20 โดยการจัดกิจกรรมการเล่นต่อบล็อกของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนวัดโสมนัส
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในชั้นเรียนนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถการรู้ค่าจำนวน 1-20 โดยการจัดกิจกรรมการเล่นต่อบล็อกของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนวัดโสมนัส ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนวัดโสมนัส มีความสามารถในการรู้ค่าจำนวน 1-20 อยู่ในระดับดีทุกคน และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถการรู้ค่าจำนวน 1-20 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่นต่อบล็อกของนักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนวัดโสมนัส ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรมการเล่นต่อบล็อก ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนวัดโสมนัส มีความสามารถในการรู้ค่าจำนวน 1-20 หลังการใช้กิจกรรมการเล่นต่อบล็อกสูงกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเล่นต่อบล็อกทุกคน มีคะแนนหลังการทดลองที่ร้อยละ 100.00 มีความสามารถที่คุณภาพในระดับดีซึ่งสูงกว่าก่อนการทดลองที่มีคะแนนร้อยละ 44.00 มีความสามารถที่คุณภาพในระดับปรับปรุง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนระดับชั้นอนุบาล 3 โรงเรียนวัดโสมนัส ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2565 จำนวน 5 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเล่นต่อบล็อกและแบบประเมินความสามารถ การรู้ค่าจำนวน 1-20 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ได้แก่ ค่าความถี่ และร้อยละ
Article Details
References
กมลรัตน์ คนองเดช. (2563). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้สื่อและของเล่นที่มีต่อทักษะ EF ของเด็กปฐมวัย. ยะลา: มหาวิทยาลัยราฃภัฏยะลา.
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เกศสุภา จิระการณ์. (2564). ต่อบล็อกไม้ของเล่นได้ 4 ชั้นขึ้นไป. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2565 แหล่งที่มา https://mali.me/eymilestone/builds-towers-of-4-or-more-blocks/
จริยา จุฑาภิสิทธิ์ และ รมร แย้มประทุม. (2560). กิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการในเด็กวัยอนุบาล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2565. แหล่งที่มา: https://tmc.or.th/pdf/tmc_knowlege-94.pdf.
เจนจิรา เหิมหัก, ธิติกาญจน์ ฐิติโสภณศักดิ์ และสุพิชา พิทยะภัทร์. (2564). การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดสมอง เป็นฐาน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
เบญจมาศ พงษ์สวัสดิ์, พรายแก้ว ลาภผลทวี และสุพันธ์วดี ไวยรูป. (2565). การพัฒนาความสามารถในการรู้ค่าจำนวน 1-10 ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ โดยใช้กิจกรรมชวนกันมานับเลข. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ประจักษ์ เอนกฤทธิ์มงคล. (2560). การพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กระดับปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลักธุรกิจบัณฑิตย์.
พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2559). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
พิสณุ ฟองศรี. (2558). วิจัยชั้นเรียน หลักการและเทคนิคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์
เพ็ญพิไล พรหมมี จุฑารัตน์ คชรัตน์ และชุติมา ทัศโร. (2560). การพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ด้านการรู้ค่าจำนวนตัวเลข โดยใช้ชุดกิจกรรมเกมการศึกษาประเภทตัวเลขสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนขนาดใหญ่ในอำเภอละงู จังหวัดสตูล. [เอกสารนำเสนอในที่ประชุม]การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 12. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.
วิจิตตรา จันทร์ศิริ. (2559). การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี. (2560). กรอบการเรียนรู้ และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ ในระดับปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท โกโกพริ้นท์ (ไทยแลนด์) จำกัด.
สุภาวิณี ลายบัว. (2559). การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสาธิตอนุบาลราชมงคล. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชมงคลธัญบุรี.
Heidi Walton. (2021). A hands-on approach to learning. Online. Retrieved October 11, 2022.
from : https://qualityfirstaz.com.
Ilona Viluma. (2020). Cognitive Benefits From Playing With Building Blocks. Online. Retrieved October 20, 2022. from : https://gigibloks.com.
Kelsey Rasmuson. (2019). Influences of Block Play on Academic Learning in Preschool. Ottawa: University,St. Paul.