ความรู้ทางสรีรสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษ ในการพัฒนาความสามารถด้านการออกเสียงคำศัพท์ของนิสิตวิชาเอกภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยทักษิณ

Main Article Content

วไลพร ศาสนประดิษฐ์

บทคัดย่อ

          หนึ่งในจุดมุ่งหมายหลักของการสอนภาษาอังกฤษ คือส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสื่อสารทางการพูดภาษาอังกฤษได้ การที่จะพัฒนาความสามารถดังกล่าวให้กับผู้เรียน จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนจะต้องแนะนำให้ผู้เรียนได้รับรู้และเรียนรู้ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ทางเสียงของคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และช่วยให้ผู้เรียนสามารถออกเสียงคำศัพท์อย่างถูกต้อง ซึ่งความสามารถดังกล่าวเป็นหนึ่งในองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารทางการพูดภาษาอังกฤษให้กับผู้เรียน ดังนั้นเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการออกเสียงคำศัพท์จึงได้นำความรู้ทางสรีรสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษมาสอนให้กับผู้เรียน รวมทั้งได้ทำวิจัยกึ่งทดลองเกี่ยวกับเรื่องนี้ขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถของผู้เรียนด้านการออกเสียงคำศัพท์ภาษาอังกฤษชุดที่ 1 ก่อนและหลังเรียนสรีรสัทศาสตร์ภาษาอังกฤษและการฝึกถ่ายถอดเสียง รวมถึงการฝึกออกเสียงจากสัญลักษณ์แทนเสียงพูดในพจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษ (2) เปรียบเทียบความสามารถของผู้เรียนด้านการออกเสียงคำศัพท์ชุดที่ 1 และชุดที่ 2 หลังเรียน เพื่อดูแนวโน้มและทิศทางการพัฒนาความสามารถ และระดับความสามารถของผู้เรียนเมื่อต้องเจอคำศัพท์ใหม่ การวิจัยนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ นิสิตชั้นปีที่ 1 เอกภาษาอังกฤษ จำนวน 32 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ (1) ชุดคำศัพท์ 2 ชุด (2) แผนการสอน 15 แผน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
          ผลการวิจัยพบว่า (1) ความรู้ด้านสรีรสัทศาสตร์ช่วยเสริมให้ผู้เรียนออกเสียงคำศัพท์ชุดที่ 1 ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ก่อนเรียนระดับความสามารถของผู้เรียนในการออกเสียงโดยไม่เปิดพจนานุกรมอยู่ในระดับน้อย ( = 2.5 ; S.D. = 0.7) และออกเสียงโดยเปิดพจนานุกรมไทย-อังกฤษอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.7 ; S.D. = 0.3) แต่ความสามารถของผู้เรียนเพิ่มขึ้นเมื่อเรียนครบ 15 แผนการสอน การออกเสียงโดยไม่เปิดพจนานุกรมอยู่ในระดับมาก ( = 4.1 ; S.D. = 0.6) และการออกเสียงโดยเปิดพจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.7 ; S.D. = 0.4) และมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ระดับความสามารถในการออกเสียงคำศัพท์ทั้งโดยไม่เปิดพจนานุกรม และโดยเปิดพจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษ ชุดที่ 1 และชุดที่ 2 หลังเรียนเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน โดยคำศัพท์ชุดที่ 1 อยู่ในระดับมากและมากที่สุด ( = 4.1 ; S.D. = 0.6) และ ( = 4.7 ; S.D. = 0.4) และคำศัพท์ชุดที่ 2 อยู่ในระดับปานกลางและมากที่สุด ( = 3.0 ; S.D. = 0.6) และ ( = 4.6 ; S.D. = 0.5)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดาราวดี สุกมลสันต์. (2542). สัทศาสตร์เพื่อการใช้. กรุงเทพมหานคร : สถาบันราชภัฏธนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). หลักการวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.

พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2544). การพูดภาษาอังกฤษตามหลักภาษาศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2547). ภาพรวมของการศึกษาสัทศาสตร์และภาษาศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ และคณะ. (2550). ภาษาอังกฤษสำหรับครู หน่วยที่ 1-7 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รุสลาน สาแม และ เปรมินทร์ คาระวี. (2558). กฤตกรรมการออกเสียงพยางค์หนัก-เบา ในคำภาษาอังกฤษจากผลของการสอนแบบฟัง-พูด ร่วมกับการสอนความรู้ทางสัทศาสตร์ : การศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศิริราษฎร์สามัคคี อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. 26 (1), 85-99.

ฮาสีด๊ะ ดีนามอ. (2553). การศึกษาความสามารถในการฟัง-พูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยวิธีการสอนเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดของ คีธ จอห์นสัน. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยทักษิณ.

McIntosh, C. (2013). Cambridge advanced learner’s dictionary. (4th ed.). India: Cambridge

University Press.

Wei, Y. and Zhou, Y. (1999). Correct Pronunciation. Naresuan University Journal, 7 (1).

Wei, Y. and Zhou, Y. (2002). Insights into English pronunciation problems of Thai students.

ERIC Document Reproduction Service No. ED476746. Online. Retrieved June 9, 2022. from : https://eric.ed.gov/?id=ED476746