โปรแกรมพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่มีสถานะรอพินิจ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

Main Article Content

ภาคภูมิ ธีรสันติกุล
กานดา จันทร์แย้ม
เกษตรชัย และหีม

บทคัดย่อ

         งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีสถานะรอพินิจ และ 2) เพื่อพัฒนาโปรแกรมพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีสถานะรอพินิจ การดำเนินการการวิจัยมีลักษณะเป็นการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการตระหนักรู้ในตนเอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีสถานะรอพินิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ จำนวน 118 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษา ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาโปรแกรมพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษา กลุ่มผู้ให้ข้อมูล  คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นได้ของโปรแกรม โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการตระหนักรู้ในตนเองโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ของการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) โปรแกรมพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาได้รับการพัฒนาในรูปแบบของกิจกรรมกลุ่ม ประกอบด้วย 10 กิจกรรม ได้แก่ 1) ปฐมนิเทศ 2) รับรู้ว่านี่คือตัวฉัน 3) สร้างสรรค์เรื่องราวมากมี 4) ข้อดีหรือข้อจำกัดนั้น 5) ใช่ตัวฉันที่เป็นมา 6) คุณค่าที่เก็บเกี่ยว 7) หนึ่งเดียวไม่เป็นสอง 8) ย้อนมองประสบการณ์ 9) ก้าวผ่านสู่อนาคต และ 10) ปัจฉิมนิเทศ โดยรวมมี ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองทะเบียนและประเมินผล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2564). สถิติจำนวนนักศึกษา. ออนไลน์. สืบค้น เมื่อ 15 มกราคม 2565. แหล่งที่มา https://reg.psu.ac.th/StatStudentHatYai/index.aspx.

โกมล จันทวงษ์. (2558). ปัจจัยสาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ศูนย์สระแก้ว. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์. 5 (1), 127-141.

เฉลิมพล สุปัญญาบุตร และสุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างสมรรถนะครูด้าน

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชต 24. วารสารแสงอีสาน. 16 (2), 266-280.

ฐานิตา ลอยวิรัตน์. (2558). การศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (รายงานผลการวิจัย). สงขลา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

นันธวัช นุนารถ. (2561). ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการออกกลางคันของเด็กและเยาวชน. เอกสารในการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มาจาก https://research.kpru.ac.th/sac/fileconference/ 18452018-05-04.pdf

เบญจวรรณ บุณยะประพันธ์. (2563). การพัฒนาคู่มือเพื่อสร้างการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 13 (1), 74-85.

พนิดา จันทรกรานต์. (2559). การศึกษาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 15 (2), 102-109.

ภาคภูมิ ธีรสันติกุล และเกษตรชัย และหีม. (2565). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของการตัดสินใจออกกลางคันของนักศึกษาระดับปริญญาตรี: การทบทวนวรรณกรรม. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์. 12 (2), 298-309.

ภาวดี เหมทานนท์ และอมาวสี อัมพันศิริรัตน์. (2563). ผลของรูปแบบการเรียนรู้ด้วยวิธีการสะท้อนคิดต่อการตระหนักรู้ในตนเองในนักศึกษาพยาบาล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7 (7), 275-288.

ยุทธนา ไชยจูกุล. (2543). การพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์. รวมบทความทางวิชาการ E.Q. (192- 195). กรุงเทพมหานคร: เดสก์ท๊อป.

วรางคณา เรียนสุทธิ์. (2560). การศึกษาเปรียบเทียบภูมิหลังและพฤติกรรมของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยทักษิณ ที่มีสถานภาพปกติและรอพินิจ โดยใช้การทดสอบโฮเทลลิ่งทีกำลังสอง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 19 (2), 144-158

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวิริยาสาส์น.

ศจีแพรว โปธิกุล. (2555). การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวทฤษฎีวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไหมไทย ไชยพันธุ์. (2562). การพัฒนาพฤติกรรมมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bradberry, Travis. & Greaves, Jean. (2005). The Emotional intelligence Quick Book : everything you need to know to put your EQ to work. New York : Simon & Schuster.

Coopersmith, S. (1981). The Antecedent of Seif-Esteem. California: Consulting Psychologists

Press, Inc.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607 – 610.

Maslow, Abraham H. (1987). Motivation and Personality. New York : Harper Row Publisher.

Mualifah,A., Barida,M. & Farhana,L. (2019). The effect of self-acceptance and social adjustment on senior high school student’s self-concept. International Journal of EducationalResearch Review, Special Issue. 719-724.