ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุวัยใกล้เกษียณในจังหวัดภูเก็ต

Main Article Content

สุมาลี แก้วเขียว

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุวัยใกล้เกษียณ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุวัยใกล้เกษียณในจังหวัดภูเก็ต จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุวัยใกล้เกษียณ และ 4) ศึกษาแนวทางการวางแผนการเงินของผู้สูงอายุในจังหวัดภูเก็ต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุวัยใกล้เกษียณจังหวัดภูเก็ต 400 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และสุ่มตามความสะดวก และผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นตัวแทนจากสถาบันการเงินในจังหวัดภูเก็ต 3 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test F-test การถดถอยพหุคูณ และวิเคราะห์แบบอุปนัย (Analytic Induction) และสรุปแบบบรรยาย
          ผลการวิจัย พบว่า 1) ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการออมเงินของผู้สูงอายุวัยใกล้เกษียณในจังหวัดภูเก็ต โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปน้อย ได้แก่ ด้านระยะเวลาในการออม ด้านวัตถุประสงค์ในการออม ด้านจำนวนเงินที่ออมเฉลี่ยต่อครั้ง ด้านการวางแผนการออม ด้านความถี่ในการออม และด้านรูปแบบการออม ตามลำดับ 2) ความคิดเห็นปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการออม โดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการรับรู้ข่าวสาร และด้านสังคม ตามลำดับ 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุวัยใกล้เกษียณในจังหวัดภูเก็ต จำแนกตามสถานส่วนบุคคล พบว่า ผู้สูงอายุที่มีอำเภอที่อาศัยแตกต่างกันมีพฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุวัยใกล้เกษียณในจังหวัดภูเก็ต แตกต่าง อำเภอที่อาศัย สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และภาระหนี้สินในปัจจุบัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ปัจจัยด้านสังคม ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารส่งผลต่อพฤติกรรมการออมของผู้สูงอายุวัยใกล้เกษียณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้ร้อยละ 84.0 5) แนวทางการวางแผนการเงิน ควรเริ่มต้นวางแผนการออมระยะยาวตั้งแต่วัยทำงาน การกระจายรูปแบบการออมเงินในหลากหลายรูปแบบ ตั้งเป้าเงินเกษียณที่คิดว่าเพียงพอต่อการดำเนินชีวิตในอนาคตหลังเกษียณ โดยมีการคำนวณเงินที่ต้องเก็บออมในแต่ละปีให้เหมาะสมกับรายได้ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่งต่อความมั่งคั่งให้แก่ลูกหลานโดยการสร้างมรดก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตภาส เหมาะชาติ. (2562). ทัศนคติด้านการออมเงินที่มีผลต่อการตัดสินใจออม ของนักศึกษา MBA มหาวิทยาลัยรามคำแหง. การศึกษาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2551). เรียนให้รู้: ใช้ข้อมูลอย่างผู้ชนะ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทซัคเซส มีเดีย.

ใจชนก ภาคอัต. (2555). การรับรู้และการมีส่วนร่วมของบุคคลากรสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ในการพัฒนาคุณภาพสถาบันสู่ความเป็นเลิศ ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ธนภรณ์ ดีธนกิจชัยกุล. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคลของคนวัยทำงานในสถานการณ์ COVID-19. สาขาวิชาการจัดการการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปาจรีย์ ปานขาว. (2557). รวยด้วยเงินออม ใคร ๆ ก็ทำได้. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

พัชราวลี ธิอินโต. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออมทรัพย์ประเภทประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ของประชาชนในเขตบางแค กรุงเทพมหานคร. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด มหาวิทยาลัยสยาม.

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ. (2558). สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์. ออนไลน์. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2562, จาก https://fopdev.or.th/

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน

รุ่งนภา ศรีธัญญะโชติ. (2550). พฤติกรรมการออมเพื่อใช้จ่ายในอนาคตของประชาชน: กรณีศึกษา ผู้บริหารศูนย์การขายบริษัทไทยประกันชีวิตจำกัด สาขาธนบุรี กรุงเทพมหานคร. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และธนภรณ์ เนื่องพลี. (2561). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีผลต่อการออมของผู้สูงอายุในอำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี.หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจและภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วีระพล บดีรัฐ . (2558). เกษียณสบาย สไตล์คนมีลูก. กรุงเทพมหานคร: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ศุภวรรณ มณีพันธุ์วงศ์. (2552). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจออมของพนักงานธนาคารในเขต เทศบาลเมืองจังหวัดสมุทรสงคราม. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต.สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน.บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สิรินดา กลิ่นจันทร์หอม. (2555). พฤติกรรมการออมเงินของนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุขใจ น้ำผุด. (2557). กลยุทธ์การบริหารการเงินบุคคล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วีระพล บดีรัฐ. (2558). เกษียณสบาย สไตล์คนมีลูก. กรุงเทพมหานคร: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

วันดี หิรัญสถาพร และคณะ. (2556). การออมที่มีประสิทธิภาพของผู้สูงอายุในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

อนงนาฎ ศุภกิจวณิชกุล. (2558). พฤติกรรมการออมและการบริหารการเงินก่อนเกษียณอายุกรณีศึกษาบุคลากรมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร.