การสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร่องมาลีด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน วิสาหกิจชุมชนร่องมาลี จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

อุทัย อันพิมพ์
สายรุ้ง ดินโคกสูง

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติและความเป็นมาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร่องมาลี           2) การสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร่องมาลี เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติแบบมีส่วนร่วม กลุ่มศึกษาคือสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร่องมาลี ตำบลสระสมิง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ เครื่องมือการสร้างกลยุทธ์ธุรกิจ การสนทนากลุ่มย่อย การสังเกต โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า
          1) ร่องมาลีเป็นชุมชนเกษตรกรรมที่ก่อตั้งมากว่า 150 ปี มีประเพณีวัฒนธรรมเฉกเช่นประเพณีอีสานที่มีฮีต 12 คอง 14 เป็นหลัก มีการจัดตั้งกลุ่มพัฒนาสตรีเมื่อปี 2553 ต่อมาได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวกล้องงอกออกจำหน่ายและมีการจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนข้าวกล้องงอกร่องมาลี ในปี 2556 มีการแบ่งหน้าที่การบริหารกลุ่มตามโครงสร้างที่ชัดเจน
          2) การสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร่องมาลี พบว่า กลุ่มมีกระบวนการสร้างแบ่งออกเป็น 2 กลยุทธ์หลัก คือ (1) กลยุทธ์การบริหารจัดการกลุ่มด้วยกระบวนการวิจัย ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ย่อย คือ กลยุทธ์การจัดการความรู้ร่วมกับชุมชน การจัดการความรู้ข้ามชุมชน และการบริหารจัดการความรู้ในกลุ่ม  (2) กลยุทธ์การบริหารจัดการกลุ่มเพื่อความยั่งยืน ประกอบด้วย 7 กลยุทธ์ย่อย คือ กระบวนการ         จิตตปัญญาศึกษา การวิเคราะห์ SWOT กระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์  กระบวนการปรับฐานวิธีคิดผ่านสื่อ  การบริหารจัดการกลุ่มแนวใหม่เพื่อความยั่งยืน การวางแผนการผลิตใหม่เชิงพาณิชย์ และการบริหารจัดการเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนร่องมาลี อย่างไรก็ตามกระบวนการขับเคลื่อนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนให้เกิดความยั่งยืนจำเป็นจะต้องมีพี่เลี้ยงทีมวิชาการคอยเกื้อหนุนอย่างต่อเนื่องจึงจะทำให้กลุ่มเกิดความยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2558) รายงานประจำปี 2558. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2560. แหล่งที่มา http://www.plan.doae.go.th/myweb2/annual/Annual2558.pdf

ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัย ประชากรและสังคม

พิมพ์พิสุทธ์ิ อ้วนลํ้า ชมพูนุท โมราชาติ และกัญญา จึงวิมุติพันธ์ (2560). การพัฒนาศักยภาพการดําเนินงานกลุ่มหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8 (2), 207-238.

พรธฤดี โชยปรปักษ์. (2547). ปัญหาของผู้ดำเนินงานในการผลิตสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ไพฑูรย์ ภิระบัน. (2549). ปัจจัยความสำเร็จของสินค้าประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดพะเยา. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.